ทาสแมวแบบเราอาจจะเจ็บปวดเหมือนกันหากรู้ว่าสัตว์เลี้ยงสุดที่รักของเราป่วย การตรวจสุขภาพน้องแมวถือเป็นเรื่องที่เราควรทำตั้งแต่ก่อนที่เราจะรับน้องๆเข้าบ้าน และเป็นการตรวจเพื่อที่เราจะได้รู้ต้นเหตุที่ทำให้น้องป่วย รวมถึงการดูแลที่ควรทำให้น้องมีสุขภาพที่ดีที่สุด จะมีอะไรบ้าง Petplease ได้รวมมาไว้ให้กับทุกคนแล้ว
บทความนี้นำเสนอ
- ตรวจสุขภาพของแมวคืออะไร?
- ตรวจสุขภาพน้องแมวตรวจอะไรบ้าง?
- การเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพสัตว์เลี้ยง
- ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพของแมว
- ข้อดีของการตรวจสุขภาพของแมวเป็นประจำ
- การตรวจสุขภาพของแมวครอบคลุมเรื่องใดบ้าง?
- ตรวจสุขภาพของแมวบ่อยแค่ไหน?
ตรวจสุขภาพแมวคืออะไร?
การตรวจสุขภาพของแมว คือ การตรวจดูประสิทธิภาพและความแข็งแรงของสุขภาพในสัตว์เลี้ยงประเภทแมว เป็นอีกหนึ่งกระบวนการที่สำคัญในการเลี้ยงแมว เพื่อให้สัตว์เลี้ยงมีอายุยืนและลดความเสี่ยงการเกิดโรคภัยต่างๆ
ตรวจสุขภาพน้องแมวตรวจอะไรบ้าง?
การตรวจสุขภาพของแมวจะคล้ายคลึงกับการตรวจสุขภาพของมนุษย์ โดยจะแบ่งรายการตรวจออกเป็น 4 รายการหลัก ได้แก่
1. ตรวจร่างกายแมว
การตรวจร่างกายแมว เป็นกระบวนการตรวจเพื่อดูความสมบูรณ์แข็งแรงของอวัยวะภายนอก และดูอาการของโรคต่างๆ ที่มีอาการแสดงซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น ตรวจตา ตรวจสุขภาพช่องปาก ตรวจหู ตรวจจมูก ตรวจอุ้งเท้า ตรวจบริเวณหน้าท้อง ตรวจดูเส้นขน
2. ตรวจเลือดแมว
สัตวแพทย์จะเจาะเก็บตัวอย่างเลือดของแมวส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ คล้ายกับการเจาะเก็บตัวอย่างเลือดเวลาที่เราเดินทางไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาล โดยการเจาะเก็บตัวอย่างเลือดแมวจะทำให้สัตวแพทย์ได้เห็นข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพภายในร่างกายของสัตว์เลี้ยงได้หลายอย่าง เช่น
- ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC) ซึ่งสามารถบอกถึงข้อมูลปริมาณความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว เพื่อดูประสิทธิภาพในการต่อสู้กับเชื้อโรคและภาวะอักเสบของร่างกาย
- ค่าการทำงานของอวัยวะสำคัญ (Organs function) เช่น ตับ ไต ต่อมไทรอยด์
- ดูระดับฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ฮอร์โมนไทรอยด์อย่างไทรอกซีน (Thyroxine: T4)
- ดูระดับน้ำตาลในเลือด (Blood Sugar) หรือน้ำตาลกลูโคส (Glucose)
- ดูระดับคอเคสเตอรอล (Cholesterol)
- ดูค่าสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย (Electrolyte Status) เช่น คลอไรด์ (Choloride) โพแทสเซียม (Potassium)
- ดูสารโปรตีนในเลือด (Total Protein)
เมื่อทราบค่าต่างๆ จากเลือดแล้ว สัตวแพทย์ก็จะสามารถให้คำแนะนำในการดูแลแมวได้เหมาะสมขึ้น หรือหากเจอค่าใดๆ ที่ผิดปกติ ก็อาจแนะนำให้ตรวจเชิงลึกเพิ่มเติมได้เร็วขึ้น
3. ตรวจปัสสาวะแมว
การเก็บตัวอย่างปัสสาวะแมวเพื่อส่งตรวจสามารถบอกระดับการทำงานขอไต รวมถึงบอกความเสี่ยงการเกิดภาวะอักเสบหรือติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้ นอกจากนี้ยังช่วยในการวินิจฉัยโอกาสเกิดโรคเบาหวานหรือโรคมะเร็งในระดับทางเดินปัสสาวะได้อีกด้วย
4. ตรวจอุจจาระแมว
การตรวจอุจจาระในแมวจะช่วยให้สามารถคัดกรองพยาธิหรือปรสิตที่มักแอบแฝงอยู่ในระบบขับถ่ายได้ และเป็นต้นเหตุที่ทำให้เจ้าเหมียวเกิดอาการเจ็บป่วยต่างๆ ขึ้นในภายหลังได้ เช่น ท้องเสีย ถ่ายมีมูกเลือด อาเจียน มีขี้ตาเยอะ เซื่องซึม
นอกจาก 4 ข้อหลักๆ ที่กล่าวมานี้ บางโรงพยาบาลสัตว์อาจมีการตรวจอื่นๆ ด้วย เช่น เอกซเรย์ช่องอกและช่องท้อง ขึ้นอยู่โปรแกรมการตรวจของแต่ละสถานพยาบาล
การเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพสัตว์เลี้ยง
แมวบางตัวอาจตื่นกลัวหรือไม่คุ้นเคยการไปยังสถานที่แปลกๆ ผู้เลี้ยงจึงควรมีการเตรียมตัวเพื่อลดความกังวลของแมวลง ดังนี้
- หาตะกร้าใส่แมวที่พกพาสะดวกหรืออาจเป็นตะกร้าที่สัตว์เลี้ยงของคุณคุ้นเคย
- สอบถามทางสถานพยาบาลเกี่ยวกับการงดอาหารแมวล่วงหน้า เพราะในบางรายการตรวจจำเป็นจะต้องมีการงดอาหารสัตว์ก่อนเป็นเวลาประมาณ 8 ชั่วโมง
- สอบถามเกี่ยวกับการเก็บตัวอย่างปัสสาวะและอุจจาระล่วงหน้า เพราะในบางสถานพยาบาล เจ้าของจำเป็นต้องเก็บตัวอย่างปัสสาวะและอุจจาระของแมวมาให้ทางสัตวแพทย์เอง
- หากมีประวัติสุขภาพ ประวัติการฉีดวัคซีนแมว ให้พกติดมาให้สัตวแพทย์ตรวจดูด้วย
- หากกลัวแมวจะมีอาการกลัวหรือวิตกกังวลเมื่อไปที่สถานพยาบาล ให้หาผ้าผืนใหญ่ติดไปด้วย เพื่อคลุมตะกร้าแมวไว้ในระหว่างรอเข้ารับบริการ
- เตรียมที่นอนหรือสถานที่ให้เจ้าเหมียวกลับมาพักผ่อนหลังตรวจสุขภาพ
- หากแมวที่พาไปตรวจสุขภาพมีนิสัยดุหรือขี้ตกใจเมื่ออยู่ต่างที่ ให้แจ้งทางสถานพยาบาลล่วงหน้า
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพของแมว
แมวเป็นสัตว์ที่แข็งแกร่ง ทรงพลัง และรักการผจญภัย แม้ว่าแมวจะไม่ได้มี 9 ชีวิตอย่างที่ตำนานกล่าวกัน แต่ส่วนใหญ่มีสุขภาพโดยรวมดี ทนทานต่อโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ได้อย่างไม่น่าเชื่อ และมีอายุขัยโดยเฉลี่ยประมาณ 13 – 15 ปี อย่างไรก็ตาม การตรวจสุขภาพน้องแมวก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้แน่ใจว่าแมวมีร่างกายแข็งแรงและมีความสุข โดยในบทความนี้ เราจะตอบทุกข้อสงสัยของทาสแมว ไม่ว่าจะเป็นความถี่ในการพาแมวไปพบสัตวแพทย์ ราคาตรวจสุขภาพแมว และการตรวจโรคแมวต่าง ๆ
ข้อดีของการตรวจสุขภาพแมวเป็นประจำ
การตรวจสุขภาพเป็นประจำมีประโยชน์มากมาย มันทำให้คุณมั่นใจได้ว่าแมวแข็งแรง เจริญเติบโตอย่างสมวัย และไม่มีโรคร้ายแอบแฝงอยู่ นอกจากนี้การตรวจสุขภาพยังบอกถึงความต้องการและอุปนิสัยตามสัญชาตญาณของแมวได้อีกด้วย ทั้งนี้ทาสแมวส่วนใหญ่คงสงสัยกันว่าการตรวจสุขภาพน้องแมวเบื้องต้น มีขั้นตอนอย่างไร ตรวจสิ่งใดบ้าง และค่าตรวจสุขภาพของแมวเริ่มต้นที่เท่าไหร่ ติดตามบทความของเราเพื่อค้นหาคำตอบไปด้วยกัน
การตรวจสุขภาพของแมวครอบคลุมเรื่องใดบ้าง?
การตรวจสุขภาพเป็นประจำมีประโยชน์มากมาย มันทำให้คุณมั่นใจได้ว่าแมวแข็งแรง เจริญเติบโตอย่างสมวัย และไม่มีโรคร้ายแอบแฝงอยู่ นอกจากนี้การตรวจสุขภาพยังบอกถึงความต้องการและอุปนิสัยตามสัญชาตญาณของแมวได้อีกด้วย ทั้งนี้ทาสแมวส่วนใหญ่คงสงสัยกันว่าการตรวจสุขภาพของแมวเบื้องต้น มีขั้นตอนอย่างไร ตรวจสิ่งใดบ้าง และค่าตรวจสุขภาพแมวเริ่มต้นที่เท่าไหร่ ติดตามบทความของเราเพื่อค้นหาคำตอบไปด้วยกัน
การสังเกตเบื้องต้น
การดูแลความต้องการของแมวเป็นสิ่งสำคัญ ผู้เลี้ยงต้องใส่ใจกับสัญญาณเตือนที่อาจบ่งบอกถึงความเจ็บป่วย เช่น พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน การอาเจียนบ่อยครั้ง อาการเซื่องซึม อ่อนแรง ปัสสาวะมาก ท้องเสีย และเบื่ออาหาร
การฉีดวัคซีน
การฉีดวัคซีนมีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคร้ายที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต มันช่วยให้ลูกแมวของคุณผจญภัยได้อย่างเต็มที่
การทำหมัน
การทำหมันช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคร้ายหลายชนิด เช่น มะเร็งอัณฑะในแมวตัวผู้และมะเร็งเต้านมในแมวตัวเมีย อีกทั้งยังช่วยลดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของแมวในวัยเจริญพันธุ์ได้ด้วย ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายในการทำหมันอาจไม่รวมอยู่ในค่าตรวจสุขภาพแมวทั่วไป
การทำความเข้าใจพฤติกรรมของแมว
เพื่อทำความเข้าใจความต้องการและอารมณ์ความรู้สึกของแมว ผู้เลี้ยงจำเป็นต้องเรียนรู้ความหมายของภาษากายของแมว คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมได้
การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน
แมวที่มีอายุ 4 ปีขึ้นไป มักเสี่ยงต่อโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์ ยิ่งแมวอายุมากขึ้น ความเสี่ยงก็ยิ่งสูงขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าตัวน้อยของคุณจะมีสุขภาพช่องปากและฟันที่แข็งแรง คุณควรแปรงฟันให้พวกเค้าเป็นประจำ หมั่นเช็กอาการผิดปกติ และพาไปตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
การควบคุมรูปร่างและน้ำหนัก
โรคอ้วนเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่น่ากังวลที่สุดในแมว มันส่งผลต่ออายุขัยและความเป็นอยู่โดยรวมของแมว ผู้เลี้ยงต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าแมวมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม โดยน้ำหนักที่มาตรฐานของแมวแต่ละตัวจะขึ้นอยู่ช่วงวัยและสายพันธุ์
การดูแลแมวสูงวัย
ราคาตรวจสุขภาพของแมวทั่วไปมักจะราคาต่ำกว่าการรักษาแบบฉุกเฉิน จึงแนะนำให้ผู้เลี้ยงสังเกตพฤติกรรม การใช้ชีวิต และอาการผิดปกติต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ วิธีนี้จะช่วยให้คุณพบปัญหาสุขภาพที่แอบแฝงในแมวได้รวดเร็ว นอกจากนี้ควรเลือกให้แต่อาหารคุณภาพดีและตรวจสุขภาพเป็นประจำตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ด้วย
ตรวจสุขภาพของแมวบ่อยแค่ไหน?
ความถี่ในการตรวจสุขภาพของแมวจะแตกต่างกันไปตามช่วงอายุของแมว ได้แก่
- อายุน้อยกว่า 6 เดือน ควรตรวจสุขภาพทุกๆ 1-2 เดือน
- อายุ 7 เดือนถึง 2 ปี ควรตรวจสุขภาพทุกๆ 6 เดือน
- อายุ 3-10 ปี ควรตรวจสุขภาพทุกๆ 1 ปี
- อายุ 11 ปีขึ้นไป ควรตรวจสุขภาพทุกๆ 6 เดือน หรือปีละ 2 ครั้ง
อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาดังกล่าวเป็นเพียงระยะเวลาคร่าวๆ เท่านั้น สัตวแพทย์อาจแนะนำความถี่ในการตรวจให้เหมาะสมกับสัตว์เลี้ยงของคุณอีกครั้ง
แพ็คเกจตรวจสุขภาพของแมว
สำหรับท่านไหนที่ยังไม่รู้ว่าต้องตรวจสุขภาพน้องแมวที่ไหน Petplease ได้นำมารวมไว้ให้แล้วที่นี่ ทุกท่านสามารถเช็คราคาแพ็คเกจ และเลือกสถานที่ใกล้เคียงได้เลยค่ะ
สรุปคือน้องแมวของเราเองก็ควรจะต้องตรวจสุขภาพเหมือนกับคน การที่น้องแมวเจ็บปวดนั้นน้องแมวไม่สามารถบอกเราได้เลย แมวอาจะซึมไปเลยกว่าเราจะรู้ รีบพาน้องไปตรวจสุขภาพประจำปีกันนะคะ เพื่อน้องแมวที่คุณรัก
ขอบคุณข้อมูลจาก
AUTHOR: CALLA LILY
2024, JUL 4