
สุขภาพช่องปาก และฟัน เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับสุนัข เนื่องจากสามารถส่งผลเสียต่อระบบอวัยวะอื่น ๆ ภายในร่างกาย เช่น การทำงานของระบบหัวใจ การทำงานของระบบตับ และอื่น ๆ เป็นต้น ดังนั้นเราจึงควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด เพื่อที่จะดูแลสุขภาพช่องปาก และฟันสุนัข วันนี้ PetPlease จะมาแนะนำวิธีการดูแลสุขภาพช่องปากของน้องหมา เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีอย่างไร้กังวล!
ความสำคัญของการดูแลช่องปากและฟัน

มากกว่า 90% ของเจ้าของสุนัขมักคิดว่าสุนัขของเขามีช่องปากและฟันที่สะอาด ทำให้มองข้ามสัญญาณเตือนต่าง ๆ แต่ปัญหาสุขภาพในช่องปากของสุนัข อันตรายกว่าที่เราคิด เนื่องจากแบคทีเรียในช่องปากสามารถเข้าสู่กระแสเลือด และแพร่กระจายสู่หัวใจ ปอด ไต และอวัยวะอื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากโรคในช่องปาก

เมื่อแบคทีเรียที่สะสมในช่องปากกระจายเข้าสู่ระบบต่าง ๆ ของอวัยวะ จะส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา ดังต่อไปนี้
หัวใจล้มเหลว
คราบหินปูนที่ฝังลึกอยู่ตามช่องฟันของสุนัขก่อให้เกิดแบคทีเรียอันตรายจำนวนมาก เมื่อแพร่กระจายเข้าสู่ร่างกายก็ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด และแพร่ไปยังหัวใจ ซึ่งถือเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย เพราะจะถูกทำลายการทำงานจนทำให้เกิดเยื่อบุหัวใจอักเสบ ซึ่งเป็นเหตุของสภาวะหัวใจล้มเหลวนั่นเอง
ติดเชื้อในตับ และไต
หากเชื้อแบคทีเรียแพร่กระจายเข้าสู่หัวใจได้แล้วนั้นอวัยวะส่วนอื่น ๆ ก็ไม่ใช่ปัญหา เช่นเดียวกันกับตับและไตที่อาจถูกสร้างความเสียหาย ทำให้ระบบการทำงานไม่มีประสิทธิภาพเช่นเดิม ก่อให้เกิดอาการอักเสบ และการติดเชื้อที่รุนแรงได้ ซึ่งเป็นอวัยวะที่สุนัขมีความอ่อนไหวมากที่สุด หากได้รับการติดเชื้อ
กระดูกขากรรไกรล่างหัก
แน่นอนว่าแบคทีเรียในช่องปากก็ต้องส่งผลโดยตรงต่อปัญหาช่องปาก แต่นอกจากปัญหาฟันผุ ฟันโยก และฟันล้มแล้วนั้น ยังสามารถก่อให้เกิดปัญหากระดูกขากรรไกรล่างหักได้อีกด้วย ซึ่งเป็นการเจ็บปวดที่ทรมานสำหรับสุนัขเป็นอย่างมาก หากไม่ได้รับการรักษาก็จะส่งผลให้กระดูกเกิดความเสียหายได้
สัญญาณที่บอกว่าสุขภาพช่องปากมีปัญหา

ฟันเปลี่ยนสี
โดยธรรมชาติแล้วนั้นฟันของสุนัขจะมีสีขาว แต่เนื่องจากปัจจัยของปัญหาสุขภาพปากจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติที่เปลี่ยนไป ซึ่งเราสามารถสังเกตได้จากสีของฟันนั่นเอง สาเหตุของสีที่เปลี่ยนไปก็มาจากคราบหินปูนที่ฝังลึกจนทำให้สีของฟันเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเหลือง ตลอดจนสีน้ำตาล หรือในกรณีรุนแรงที่สุดก็สามารถเกิดคราบเลือด จนเห็นสีแดงหรือเขียวได้เลยทีเดียว
มีกลิ่นปาก
แน่นอนว่าเมื่อมีกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ก็สามารถบ่งบอกได้แล้วว่าช่องปากของสุนัขเรานั้นกำลังมีปัญหาอยู่ สาเหตุจากแบคทีเรียมีความสามารถในการผลิตสารประกอบซัลเฟอร์ที่ระเหยได้ นอกจากนี้ยังสามารถแพร่กระจายในกระแสเลือด และส่งผลต่อความผิดปกติของระบบอวัยวะต่าง ๆ
น้ำลายไหลยืด
โดยธรรมชาติในสุนัขบางสายพันธุ์อาจมีน้ำลายยืดได้ปกติ สุนัขที่มีน้ำลายไหลอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ตกอยู่ในภาวะเครียด วิตกกังวล อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนมากเกินไป หรืออาจเกิดจากความผิดปกติบางอย่างก็ได้ เช่น มีเนื้องอกในช่องปาก เหงือกอักเสบรุนแรง มีคราบหินปูนเยอะมากกว่าปกติ จำเป็นต้องพบสัตวแพทย์เพื่อการรักษาที่ตรงจุด
เหงือกบวมแดงอักเสบ
อาการเหงือกบวกแดงอักเสบ เกิดจากการสะสมของเชื้อแบคทีเรียที่มากจนกระตุ้นการอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคปริทันต์ รวมถึงมีอาการที่รุนแรง เช่น กลิ่นปาก และน้ำลายไหลยืด เจ็บปากจนยากที่จะเคี้ยวอาหารเหมือนอย่างปกติ
ปัญหากลิ่นปาก

ปัญหากลิ่นปากของสุนัขก่อให้เกิดปัญหามากมาย ถึงแม้จะพยายามรักษาเท่าไหร่ก็ไม่มีท่าทีจะดีขึ้น อาจเป็นเพราะว่าได้รับข้อมูลมาอย่างผิดวิธี เรามาดูปัญหาที่ตามมาจากปัญหากลิ่นมา รวมถึงวิธีการรักษา และป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกกันดีกว่า
ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากปัญหากลิ่นปาก
- โรคเหงือกอักเสบ
วิธีการสังเกตว่าสุนัขของคุณเป็นโรคเหงือกอักเสบหรือไม่ จะสังเกตได้จากการที่สุนัขมีปากเหม็น และเหงือกบวกแดง ซึ่งโรคนี้เกิดจากการสะสมของคราบหินปูนอย่างฝังลึก ทำให้้เกิดปัญหาฟันผุ ฟันโยก ไม่แข็งแรง อีกทั้งยังส่งผลต่อกลิ่นปากโดยตรง เจ้าของควรหมั่นดูแลความสะอาดในช่องปากเป็นประจำ ไม่ควรปล่อยไว้จนเกิดโรคร้ายแรงตามมา
- โรคไต
หนึ่งในอาการที่บ่งบอกว่าสุนัขของเรากำลังเผชิญกับโรคไตนั่นก็คือ กลิ่นปากที่ฉุนเหมือน
กับกลิ่นของแอมโมเนีย ซึ่งเป็นผลมาจากการสะสมของสารพิษและสิ่งสกปรก เนื่องจากความผิดปกติของการกำจัดของเสียนั่นเอง โดยโรคไตจะส่งผลอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีปัญหาลมหายใจเหม็น และปัญหาสุขภาพที่อาจตามมาได้ในอนาคต ดังนั้นควรรีบพาไปรักษาโดยสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที หากพบอาการผิดปกติเช่นนี้
- โรคเบาหวาน
เราจะสามารถสังเกตว่าสุนัขขของเราเป็นโรคเบาหวานได้จากกลิ่นปากที่มีความหอมเหมือน
กับกลิ่นผลไม้ เพราะการสร้างคีโตนในกระแสเลือด อีกทั้งการกินน้ำ และปัสสาวะบ่อยก็เป็นอาการของโรคเบาหวานเช่นเดียวกัน ดังนั้นควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาในลำดับถัดไป
- โรคตับ
หากสุนัขของคุณมีอาการเบื่ออาหาร เหงือกกลายเป็นสีเหลืองล้วน รวมถึงมีกลิ่นปากที่รุนแรง สิ่งเหล่านี้คืออาการของโรคตับที่ทำงานอย่างผิดปกติเจ้าของควรรีบนำไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาในลำดับถัดไป
นิสัยการกินที่ผิดปกติ
โรคโคโพรฟาเจีย หรือพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติสามารถเกิดขึ้นได้กับสุนัข โดยสุนัขที่มีพฤติกรรมเหล่านี้จะชอบคุ้ยขยะกิน กินซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย ซึ่งเต็มไปด้วยเชื้อโรคแบคทีเรียอันตราย ตลอดจนการกินอุจจาระของตัวเอง ซึ่งส่งผลโดยตรงกับสุขภาพช่องปาก และสุขภาพของสุนัข จำเป็นต้องรีบพบสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการรักษาในลำดับถัดไป
การรักษาอย่างถูกจุด
- พบสัตวแพทย์
การรักษาอย่างถูกต้อง และตรงประเด็นที่สุดคือการรู้ถึงสาเหตุของปัญหาอย่างละเอียด ดังนั้นการนำสัตว์เลี้ยงของคุณเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาจึงเป็นวิธีที่ตอบโจทย์ที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุนัขที่มีโรคประจำตัว อย่างเช่น โรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต ที่ต้องได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ
- การเก็บขยะให้เรียบร้อย
หนึ่งในลักษณะนิสัยของสุนัขคือการคุ้ยขยะ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันแบคทีเรียจากเศษอาหารในถังขยะ เราควรที่จะเก็บขยะให้เรียบร้อย รวมถึงหลีกเลี่ยงการให้สุนัขออกไปข้างนอกบ้าน เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่จะไปคุ้ยถังขยะตามสถานที่ต่าง ๆ ที่อยู่ข้างทาง
- ป้องกันไม่ให้เกิดอีก
หากเจ้าของสุนัขทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ก็จะสามารถป้องกันปัญหากลิ่นปากสุนัขได้
- การแปรงฟัน
การแปรงฟันสุนัขเป็นประจำทุกปี เป็นขั้นตอนพื้นฐานในการป้องกันแบคทีเรียในช่องปากที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ควรมีการฝึกฝนตั้งแต่วัยเด็กเพื่อให้สุนัขมีความเคยชินจนกลายเป็นกิจวัตรประจำวัน และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับสุนัขโดยเฉพาะ
- การให้ขนมขัดฟัน
ขนมขัดฟันมีคุณสมบัติป้องกันปัญหาสุขภาพช่องปากได้เป็นอย่างดี เนื่องจากจะช่วยขจัดคราบ และทำความสะอาดฟันได้ทุกซอกทุกมุม
- การเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
เราควรเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการตอบโจทย์สุนัขในแต่ละสายพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคำนึงถึงช่วงวัยก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้สุขภาพช่องปากของสุนัขดีขึ้น
- การเลือกอาหารเม็ด
การพิจารณาให้อาหารเม็ดกับสุนัขเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากมีสัมผัสที่กรอบ ซึ่งช่วยขจัดคราบฝังลึกตามซอกฟันได้ แต่เราจำเป็นคำนึงถึงส่วนประกอบเป็นสิ่งสำคัญ ควรจะมีส่วนผสมของซิงค์ ซัลเฟต โซเดียว ไตรโพลีฟอสเฟตที่ช่วยให้สุขภาพช่องปาก และฟันแข็งแรง
เทคนิคดูแลฟันให้แข็งแรง

สำหรับเทคนิคการดูแลฟันให้แข็งแรงนั้นก็ไม่มีอะไรมากกว่าการทำความสะอาดช่องปาก และฟันเป็นประจำทุกวัน ซึ่งสามารถฝึกได้ตั้งแต่เป็นลูกสุนัขเพื่อความคุ้นชิน แต่หากเริ่มการฝึกฝนแปรงฟันในสุนัขที่โตแล้ว จำเป็นต้องตรวจสุขภาพเบื้องต้นเพื่อให้แน่ใจว่าไม่แพ้ส่วนผสมตัวใดที่ยาสีฟัน พยายามอย่าให้กัดแทะของแข็งที่มีรูปทรงแหลมคม เพราะจะทำให้ฟันได้รับการทำลายได้ เช่น กระดูก ควรเน้นไปที่ขนมขบเคี้ยวที่ปลอดภัยต่อฟันจะดีกว่า สุดท้ายนี้ควรจะพาสุนัขของท่านพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก และฟัน อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี
วิธีแปรงฟัน

วิธีแปรงฟันให้สุนัข หรือสัตว์เลี้ยงทั่ว ๆ ไป มีแค่ 3 ขั้นตอนง่าย ๆ
ฝึกให้ชิมยาสีฟัน
สำหรับการฝึกให้ชิมยาสีฟันนั้นจะเป็นการช่วยให้สุนัขคุ้มชินกับกลิ่น และรสชาติ โดยจะต้องบีบยาสีฟันลงบนข้อนิ้วและค่อย ๆ ให้สุนัขชิมจนกว่าจะเริ่มแปรงฟันได้ โดยใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์ และยาสีฟันที่ใช้นั้นจะต้องเป็นยาสีฟัน Virbac C.E.T. ซึ่งปลอดภัยต่อสัตว์เลี้ยง สามารถกินได้ โดยไม่ต้องบ้วนน้ำ
เริ่มฝึกแปรง
การเริ่มฝึกแปรงนั้นจะต้องเริ่มจากวิธีการเปิดริมฝีปากของสุนัข โดยเราจะมือหนึ่งข้างเปิดริมฝีปากของสุนัขอย่างนิ่มนวล หลังจากนั้นให้ใช้นิ้วมืออีกข้างป้ายยาสีฟันแล้วถูบนผิวฟันช้า ๆ อย่างทั่วถึง เมื่อสุนัขของคุณเริ่มชินกับยาสีฟันแล้วก็สามารถใช้แปรงสีฟันได้ในลำดับถัดมา
จับสุนัขแปรงให้ถูกท่า
เราควรที่จะอุ้มสุนัขจากทางด้านหน้า เพื่อสร้างความไว้ใจให้สุนัขของเรา ได้เห็นถึงอุปกรณ์ทั้งหมดที่จะใช้เกี่ยวกับการทำความสะอาด เพราะหากเริ่มด้วยวิธีที่ผิดจะทำให้สุนัขมีประสบการณ์ที่ไม่ดีจนกลายเป็นปมได้ ดังนั้นเราควรศึกษาวิธีที่ถูกต้องก่อนจะเริ่มแปรงฟันนะครับ
ทริคหลอกแปรงฟัน

สุนัขบางตัวมีอาการหวาดกลัวการแปรงฟัน ดังนั้นเราควรมีวิธีหลอกล่อ ดังนี้
อย่าบังคับ
หากสุนัขดิ้น หรือขัดขืน อย่าพยายามบังคับให้สุนัขแปรงฟันจนเสร็จ เพราะการทำแบบนี้จะทำให้สุนัขตื่นตระหนกและหวาดกลัวการแปรงฟัน
ชื่นชมหลังแปรงฟันและให้รางวัล
ระยะเวลาในการแปรงฟันจะเฉลี่ยอยู่ที่ 2-3 นาทีต่อครั้ง ดังนั้นเราควรมีรางวัลให้เพื่อเป็นการตอบแทนการอดทนรอของสุนัข เช่น การกอด ลูบหัว หรือแสดงความรักให้สุนัขรู้สึกดีนั่นเอง
เลือกแปรงสีฟัน

การเลือกซื้อแปรงสีฟันให้สุนัข ควรเลือกขนแปรงที่ไม่นุ่มและไม่แข็งจนเกินไป และควรเลือกให้เหมาะสมกับขนาดของสุนัข ซึ่งสามารถเลือกซื้อได้ 2 ประเภทด้วยกัน ดังนี้
Dual-Ended Toothbrush
แปรงสีฟันชนิดหัวแปรงคู่ มีหลากหลายเพื่อตอบโจทย์ความต้องที่แตกต่างของแต่ละสายพันธุ์ มีลักษณะของหัวแปรงที่กลมมน ขนาดเล็ก สามารรถทำความสะอาดได้ทุกซอกมุม และด้ามแปรงเอียง ทำให้ซอกซอนช่องปากได้อย่างสะอาด ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การจับที่ถนัดมือ
Periaid Toothbrush
มีลักษณะเป็นด้ามตรง ขนาดกระทัดรัด ความพิเศษของแปรงสีฟันชนิดนี้คือ ขนของแปรงที่นุ่ม ตอบโจทย์สุนัขที่ต้องการการดูแลช่องปากอย่างอ่อนโยน
สำหรับใครที่กำลังมองหาแปรงสีฟันดี ๆ และมีคุณภาพเหล่านี้ก็สามารถเลือกสรรได้บนเว็บไซต์ PetPlease ของเราได้เลยนะครับ รับรองว่ารวบรวมสินค้าที่มีคุณภาพมากมายให้เหล่าเจ้าของได้เลือกสรรเพื่อสุขภาพที่ดีของสุนัขที่คุณรักอย่างแน่นอน
เลือกยาสีฟัน

การเลือกยาสีฟันสำหรับสุนัข ควรเลือกใช้ยาสีฟันที่ผลิตมาเพื่อสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ ไม่ควรนำยาสีฟันของคนมาใช้กับสุนัข เพราะมีส่วนผสมของฟลูออไรด์ที่เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง สำหรับวิธีการเลือกอย่างละเอียด มีดังต่อไปนี้
เลือกจากส่วนผสมของยาสีฟัน
สิ่งสำคัญที่เราต้องคำนึงคือส่วนประกอบที่มีคุณภาพแต่ต้องปลอดภัย ไม่ควรมีส่วนผสมของฟลูออไรด์ สารให้ความหวานเทียม ไซลิทอน และแอลกอฮอล์ แต่จำเป็นต้องมีสารเอนไซ์ เนื่องจากเอนไซ์มีคุณสมบัติในการขจัดคราบหินปูน รวมถึงป้องกันการเกิดของคราบหินปูนเหล่านั้น
เลือกจากประสิทธิภาพของยาสีฟัน
ประสิทธิภาพของยาสีฟันที่เจ้าของควรตต้องคำนึงถึงเลยนั่นก็คือสามารถทำความสะอาดคราบหินปูนที่ฝังลึกได้ทุกซอกทุกมุม รวมถึงป้อกันปัญหาเกี่ยวกับเเหงือก และฟัน อีกทั้งยังทำให้ปากหอมสดชื่น ไร้แบคทีเรียสะสม
หลีกเลี่ยงส่วนผสมที่สุนัขแพ้
ในบางส่วนผสมอาจมีสารที่สุนัขแพ้อยู่ เนื่องจากสุนัขแต่ละตัวมีภูมิคุ้มกันแตกต่างกันไป ดังนั้นเจ้าของจะต้องคอยสังเกตว่าสุนัขของคุณมีความอ่อนไหวในสารประกอบอื่น ๆ เป็นพิเศษหรือไม่ เพราะถึงแม้ว่าจะเป็นส่วนผสมที่มีคุณภาพ และปลอดภัยต่อสัตว์เลี้ยงมากแค่ไหน แต่หากอันตรายต่อสุนัขของคุณก็ไม่สามารถฝืนใช้จนหมดได้นะครับ
เลือกกลิ่นที่คล้ายคลึงกับกลิ่นอาหาร
ปัจจุบันได้มีการพัฒนารสชาติของยาสีฟันสุนัขอย่างหลากหลาย เพื่อเป็นตัวเลือกสำหรับสุนัขที่มีความต้องการแตกต่างกันออกไป หากเราใช้ยาสีฟันที่มีรสชาติโปรดของสุนัขเป็นส่วนผสมก็จะส่งเสริมให้สุนัขชื่นชอบการแปลงฟันได้ ซึ่งรสชาติของยาสีฟันตามท้องตลาดก็มีมากมาย ดังนี้ รสไก่ รสมิ้นท์ รสเนื้อ รสวานิลลา รสสัตว์ทะเล และรสถั่วเป็นต้น
สุขภาพช่องปากและฟันของน้องหมา สำคัญไม่แพ้สุขภาพด้านอื่น ๆ นอกจากการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของน้องหมาด้วยตัวเองแล้ว เจ้าของก็ควรพาน้องหมาไปตรวจสุขภาพฟันทุก ๆ 6 เดือน เพื่อป้องกันโรคในช่องปาก และได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องจากสัตวแพทย์
คำถามที่พบบ่อย
Q: ควรแปรงฟันให้สุนัขบ่อยแค่ไหน
A: ควรแปรงฟันอย่างน้อยอาทิตย์ละ 2 – 3 ครั้ง แต่แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคปริทันต์ สามารถเกิดขึ้นภายในไม่ถึง 24 – 36 ชั่วโมง ดังนั้นการแปรงฟันทุกจึงวันดีที่สุด
Q: ควรเริ่มแปรงฟันให้สุนัขตอนไหน
A: ผู้เลี้ยงควรเริ่มหัดแปรงฟันให้น้องหมาตั้งแต่ฟันน้องหมาอายุ 8 สัปดาห์ หรือในช่วงที่น้องหมามีฟันน้ำนมขึ้นจนครบเพื่อให้น้องหมาเกิดความเคยชิน
Q: ขูดหินปูนเองได้ไหม
A: เราไม่ควรขูดหินปูนให้สุนัขด้วยตัวเอง เนื่องจากจะส่งผลให้เหงือก และฟันได้รับอันตรายกว่าเดิม ควรให้สัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญรักษาโดยการขูดหินปูน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- แปรงฟันน้องหมาน้องแมวด้วยตัวเองอย่างไร ให้เพลิดเพลินเหมือนพาน้องๆเข้าสปา
- เทคนิคฝึกสุนัขไม่ให้กลัวการแปรงฟัน เพิ่มความสะอาดในช่องปากให้สุนัขแบบมืออาชีพ
- 4 ความผิดปกติเกี่ยวกับช่องปาก ที่ต้องพาน้องหมาไปหาหมอ (ฟัน)
- การดูแลช่องปากและฟันสุนัขและลูกสุนัข
AUTHOR: Arthurchiii
2023, JAN 23