No products in the cart.

ไขข้อสงสัย! แมวต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง คำตอบอยู่ที่นี่แล้ว!

แชร์ :

vaccine cat วัคซีนแมว

วัคซีนแมว การฉีดวัคซีนเป็นการป้องกันน้องแมวจากไวรัสขั้นพื้นฐานที่น้องแมวทุกตัวจำเป็นต้องได้รับ เพื่อที่จะยับยั้งอาการป่วยรุนแรง และสร้างภูมิคุ้มให้กันให้น้องแมวของเรา วันนี้ PetPlease จะมาตอบคำถามทุกคน วัคซีนแมวมีอะไรบ้าง แล้วต้องฉีดตอนไหนบ้างนะ?

วัคซีนแมวมีกี่กลุ่มกันนะ ?

vaccine cat วัคซีนแมว

ชมรมสัตวแพทย์บำบัดโรคแมวแห่งประเทศไทย ได้แบ่งวัคซีนแมวออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

วัคซีนโรคหลัก

เป็นวัคซีนพื้นฐานสำหรับน้องแมวทุกตัว ซึ่งจำเป็นต้องได้รับวัคซีนอย่างครบถ้วนเพื่อป้องกันโรคภัยต่าง ๆ ดังนี้ 

วัคซีนรวมในแมว 

วัคซีนรวมในแมวเป็นวัคซีนหลักที่จำเป็นสำหรับแมวที่ตัวบนโลก เนื่องจากป้องกันโรคอย่างครอบคลุม เช่น โรคไข้หัด โรคหวัดแมว โรคระบบทางเดินหายใจ ตาอักเสบ และช่องปาก

วัคซีนป้องกันโรคลิวคีเมียในแมว

วัคซีนชนิดนี้จะฉีดเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัส Feline Leukemia  Virus: FeLV ที่ส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งของน้องแมว ซึ่งสามารถติดต่อกันได้ทางน้ำลาย ขน หรือการกัดนั่นเอง 

วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 

วัคซีนชนิดนี้จะนำเชื้อไวรัสชนิดเชื้อตายมาฉีดให้ร่างกาย เพื่อสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสเรบีส์ ซึ่งก็คือเชื้อพิษสุนัขบ้า โดยเหล่าทาสไม่ต้องกังวลว่าจะทำให้น้องแมวของเราเกิดโรคพิษสุนัขบ้า เพราะเชื้อที่ฉีดเข้าไปนั้นเป็นเชื้อตาย เพื่อไปป้องกัน แต่อาจมีผลข้างเคียงได้ในบางครั้ง ซึ่งมีวัคซีนอยู่ 2 ชนิดที่นิยม ได้แก่ RabAvert และ Imovax สามารถฉีดได้ 2 กรณี คือ

 กรณีฉีดป้องกันก่อนได้รับเชื้อพิษสุนัขบ้า (Pre-Exposure Prophylaxis Rabies: PrEP) เป็นการฉีดเพื่อสร้างภูมิต้านทาน ซึ่งใช้เชื้อที่ตายแล้วฉีดเข้าสู่ร่างกาย มีทั้งหมด 3 เข็ม โดยเข็มที่ 2 จะฉีดห่างจากเข็มแรก 7 วัน และเข็มที่ 3 จะใช้เวลา 2-4 อาทิตย์จึงจะฉีดได้อีกครั้ง 

กรณีฉีดป้องกันหลังได้รับเชื้อพิษสุนัขบ้า (Rabies Post-Exposure Prophylaxis: Rabies PEP) เป็นการฉีดหลังจากที่สัมผัสเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้ามาแล้ว ซึ่งการฉีดหลังจากได้รับพิษมานั้นจะป้องกันไม่ให้ไวรัสเขข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง

  • หากเคยได้รับวัคซีนมาก่อนแล้วจะทำการฉีดวัคซีนเพียง 2 เข็ม เพื่อเป็นการกระตุ้น และเข็มที่ 2 จะห่างจากเข็มแรก 3 วัน 
  • หากยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน จะต้องทำการฉีดวัคซีนทั้งหมด 4 เข็ม โดยจะฉีดอิมมูโนโกลบูลิน (Human Rabies Immunoglobulin: HRIG) เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อตรงจุดที่เป็นแผล หลังจากนั้นจะได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสเรบีส์ 3 เข็ม โดยจะฉีดต่อจากการฉีด HRIG ในวันที่ 3, 7 และ 14 ตามลำดับ

ทั้งนี้เราควรฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อน้องแมว หรือหากได้รับเชื้อมาแล้วก็ควรที่จะนำน้องแมวไปพบสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็วที่สุด 

วัคซีนโรคกลุ่มเสี่ยง 

วัคซีนป้องกันโรคเอดส์แมว

วัคซีนป้องกันโรคเอดส์แมวทำหน้าที่เพิ่มคุ้มกันที่บกพร่องในระบบอวัยวะของน้องแมว เนื่องจากการติดเชื้อ Feline Lentivirus ทำหน้าที่เหมือนกับการติด HIV ในมนุษย์คือการทำลายระบบภูมิคุ้มกัน และเมื่อภูมิคุ้มกันตกลงก็อาจส่งผลให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ตามมาได้ เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบทางเดินปัสสาวะ และอื่น ๆ เป็นต้น

วัคซีนป้องกันโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ

วัคซีนป้องโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบทำหน้าที่ป้องกันไวรัสโคโรนาในแมว หรือ Feline Coronavirus: FCoV ซึ่งเป็นไวรัสที่พบได้ในลำไส้ของน้องแมวที่เป็นต้นเหตุของปัญหาโรคทางเดินอาหารนั่นเอง 

โรคยอดฮิตของน้องแมว

vaccine cat วัคซีนแมว

โรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัข เกิดจากเชื้อไวรัสเรบีส์ที่เข้าไปยังระบบประสาทส่วนกลางของน้องแมว ซึ่งส่งผลให้เกิดการอักเสบในสมอง โดยเชื้อเหล่านี้สามารถติดต่อได้อย่างง่ายและรวดเร็วจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัด หรือการทำให้เกิดแผล ระยะฟักตัวของเชื้อไวรัสจะอยู่ในช่วง 4-12 อาทิตย์ ก่อนจะแสดงอาการ บางครั้งอาการของน้องแมวก็สามารถแสดงออกมาได้ภายใน 2-3 วันหลังได้รับเชื้อ 

  • อาการของน้องแมวที่ได้รับเชื้อพิษสุนัขบ้า

ช่วงแรกหลังได้รับเชื้อพิษสุนัขบ้า น้องแมวอาจมีไข้ กล้ามเนื้ออ่อนแรง และมีอาการแสบร้อนบริเวณที่ถูกกัด พอผ่านไปสักระยะ เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางก็จะส่งผลต่อระบบประสาทของน้องแมวทำให้เกิดอาการตื่นตัวตลอดเวลา อารมณ์ไม่คงที่ วิตกกังวลจนเห็นภาพหลอน มีน้ำลายมากกว่าปกติ กลัวน้ำ ตลอดจนถึงการเป็นอัมพาต

โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมว 

โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมว หรือ Feline Infectious Peritonitis (FIP) เกิดจากระบบคุ้มกันที่ทำงานอย่างบกพร่อง ทำให้เกิดการติดเชื้อที่ส่งผลต่อภาวะหลอดเลือดอักเสบ ซึ่งจะทำลายการทำงานของอวัยวะที่มีการติดเชื้อ โดยสามารถพบเห็นความบกพร่องอย่างมากบริเวณอวัยวะในช่องท้อง ช่วงอก ตา และระบบประสาท เรามักพบโรคนี้ได้ในน้องแมวที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี และแมวชราที่มีอายุมากกว่า 17 ปี หรือช่วงอายุที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอนั่นเอง 

  • สาเหตุของการติดเชื้อ

โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบนั้นมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสโคโรโน่าในแมว หรือเรียกกันว่า Feline Coronavirus: FCoV) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ Virulent Feline Coronavirus: FCoV และ Genetic Recombination ทั้งสองแสดงอาการเหมือนกัน แต่จะขึ้นกับอยู่พันธุกรรมของแมวแต่ละสายพันธุ์ สามารถเกิดอาการติดเชื้อได้จากสภาวะแวดล้อม ความเป็นอยู่ของน้องแมว เราสามารถป้องกันได้โดยทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมให้สะอาดเพื่อป้องกันเชื้อโรคที่จะส่งทำลายภูมิคุ้มกันน้องแมวนั่นเอง

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในแมวนั้นเป็นรีโทรไวรัส จัดอยู่ในกลุ่มไวรัส HIV แต่เหล่าทาสแมวอย่าเป็นกังวลไปเพราะเชื้อเหล่านี้ไม่สามารถติดต่อสู่คนได้ ซึ่งปัจจุบันนี้พบเห็นได้น้อยลงจากอดีต สืบเนื่องมาจากการฉีดวัคซีนที่เริ่มในปี 1990 นับจากนั้นเป็นต้นมาน้องแมวก็มีภูมิคุ้นกันที่แข็งแรง สามารถป้องกันเชื้อไวรัสที่จะเข้าสู่ร่างกายได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม หากน้องแมวได้รับเชื้อมะเร็งเม็ดเลือดขาวจะส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลง และเกิดการติดเชื้อในลำดับถัดไป เช่น โรคมะเร็ง การอักเสบของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย และปัญหาการสืบพันธุ์ สามารถแพร่กระจายไปยังน้องแมวตัวอื่นได้อย่างรวดเร็วจากน้ำลาย และสามารถมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 3 ปี 

ปัจจุบันมีการคิดค้นวัคซีนที่ช่วยยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสกลุ่มนี้ได้ ซึ่งก็คือ วัคซีนหลัก นั่นเอง โดยช่วงอายุที่เหมาะสมคือช่วง 8 อาทิตย์เป็นต้นไป หลังจากตามจะตามด้วยเข็มที่สองหลังจากผ่านไป 3-5 อาทิตย์  มากไปกว่านั้น ประสิทธิภาพของวัคซีนหลักยังครอบคลุมถึงการป้องกันไวรัสชนิดอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ ไวรัสคาลิไซในแมว (FCV) ไวรัสโรคไข้หัดแมว (FPV) และไวรัสมะเร็งเม็ดเลือดขาวในแมว (FeLV) เป็นต้น

โรคไข้หัดแมว

โรคไข้หัดแมวเกิดมาจากเชื้อไวรัสกลุ่มพาร์โวไวรัส หรือ Feline Parvovirus ซึ่งทำหน้าที่ทำลายระบบทางเดินอาหารของน้องแมว โดยสามารถเกิดขึ้นได้กับน้องแมวทุกสายพันธุ์ โดยจะมีอาการไข้ เงียบซึม ไม่อยากอาหาร อาเจียนออกมาเป็นสีเหลือง อีกทั้งยังส่งผลให้เกิดภาวะขาดน้ำ เป็นแผลที่ปาก ถ่ายเหลวจนไปถึงถ่ายแล้วมีเลือดปนออกมา และมีอาการชักในที่สุด หากพบความผิดปกติเช่นนี้ควรพาน้องแมวไปพบสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรักษาในลำดับถัดไป 

โรคเอดส์แมว

โรคเอดส์แมว หรือ Feline Immunodeficiency Virus: FIV เป็นโรคที่เกิดความบกพร่องภายในระบบภูมิคุ้มของน้องแมว  ซึ่งมีความอันตรายหากไม่ได้รับการรักษาอย่างตรงจุด เพราะโรคนี้เป็นตัวทำลายภาวะภูมิคุ้มกัน จึงทำให้ไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุของโรคอันตรายได้ อีกทั้งยังเป็นโรคติดต่อจากแมวผู้ติดเชื้อสู่แมวอีกตัวได้จากการข่วน หรือกัดกัน พบได้ในแมวที่ยังไม่ทำหมัน หรือแมวที่สัมผัสเชื้อโรคจากการเลี้ยงแบบปล่อย 

  • อาการของโรคเอดส์แมว 

โดยปกติแล้วน้องแมวจะมีอาการเศร้าซึม มีการอักเสบของเหงือกและเยื่อเมือกในช่องปาก จมูก และกระจกตา ซึ่งเป็นเหตุของพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปเป็นแมวที่ก้าวร้าว กระวนกระวาย เนื่องจากระบบประสาทถูกรบกวนจากความบกพร่องที่เกิดขึ้น รวมถึงการขยายตัวของต่อมน้ำเหลือง มีอาการของโรคไตเรื้อรัง และสามารถมีการถ่ายเหลวได้อีกด้วย โดยเราสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีด

โรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้นในแมว

Feline Upper Respiratory Tract Disease: URTD หรือโรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้นในแมว เรียกสั้น ๆ กันว่า “โรคหวัดแมว” ซึ่งเป็นโรคที่มักพบได้ในแมวที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนตามที่ควรจะเป็น อีกทั้งยังมีสาเหตุหลากหลายด้วยกัน หนึ่งในนั้นประกอบด้วย ความเครียดจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป การถูกเลี้ยงรวมภายในครัวเรือนเดียวกัน ซึ่งก่อให้เกิดเชื้อ Feline Herpes Virus ในร่างกาย โดยจะเข้าสู่อวัยวะต่าง ๆ เช่น จมูก ปาก และตา จากนั้นจะเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันต่ำลง ทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียที่ระบบทางเดินหายใจ 

  • อาการของโรคหวัดแมว

อาการของโรคหวัดแมวแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเฉียบพลัน พบว่าจะแสดงอาการหลังได้รับเชื้อ 10 วัน มีอาการง่วงซึม และเบื่ออาหาร สืบเนื่องมาจากประสาทสัมผัสเรื่องการรับกลิ่นถูกทำลาย รวมถึงอาการ ไอ จาม น้ำมูก ก็สามารถพบได้ และในระยะต่อมาคือระยะเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อที่สะสมกันอย่างมากมายในร่างกาย หากแมวมีการตั้งครรภ์และป่วยเป็นไข้หวัดแมวเรื้อรังก็จะส่งผลให้เกิดการแท้ง หรือลูกแมวที่คลอดมาจะมีการทำงานของระบบประสาทตาที่บกพร่อง เนื่องจากเชื้อเหล่านี้จะส่งผลต่อการทำงานของเยื่อบุตานั่นเอง 

วัคซีนที่จำเป็นสำหรับน้องแมว

เรามาดูกันดีกว่าว่าวัคซีนที่น้องแมวของเราต้องฉีดมีอะไรบ้าง และควรฉีดเมื่อไหร่ดี

vaccine cat วัคซีนแมว

ค่าใช้จ่ายสำหรับวัคซีนแมว

vaccine cat วัคซีนแมว

ส่วนใหญ่แล้วคลินิกจะมีราคาวัคซีนที่แตกต่างกัน บางที่ก็รวมมาเป็นโปรแกรมสุขภาพ บางที่ก็คิดเป็นราคาแต่ละเข็ม วันนี้ PetPlease จะมาบอกราคาคร่าว ๆ ให้ทุกคนรู้เพื่อคำนวณค่าใช้จ่ายสำหรับการฉีดวัคซีนแมว 

  • ค่าตรวจสุขภาพเบื้องต้น 700 บาท
  • ค่าวัดซีนเอดส์แมว 500 บาท
  • ค่าวัคซีนเยื่อบุช่องท้องอักเสบ 450 บาท
  • ค่าวัคซีนลิวคีเมียแมว 350 บาท (โดยปีแรกจะทำการฉีดทั้งหมด 2 ครั้ง)
  • ค่าวัคซีนไข้หัดแมว 250 บาท (โดยปีแรกจะทำการฉีดทั้งหมด 3 ครั้ง)
  • ค่าวัคซีนพิษสุนัขบ้า 100 บาท (โดยปีแรกจะทำาการฉีดทั้งหมด 2 ครั้ง) 

จากค่าใช้จ่ายของวัคซีนในปีแรกโดยประมาณจะอยู่ที่ 2,600 บาท ทั้งนี้ทางเราแนะนำให้ติดต่อโรงพยาบาลสัตว์หรือคลินิก เพื่อสอบถามราคาที่ชัดเจน เพื่อที่จะคำนวณค่าใช้จ่ายได้อย่างแม่นยำนะครับ

เตรียมตัวน้องแมวก่อนฉีดวัคซีน

vaccine cat วัคซีนแมว

การเตรียมความพร้อมสำหรับน้องแมวที่เพิ่งฉีดวัคซีนครั้งแรกนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ง่าย เพียงแต่เราต้องทำความเข้าใจอย่างละเอียดเท่านั้นเอง โดยเหล่าทาสสามารถทำตามขั้นตอนได้ง่าย ๆ ดังนี้

ควรฉีดวัคซีนเข็มแรกให้แมวที่อายุ 8 สัปดาห์ 

หลังจากได้รับภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงจากน้ำนมแม่แมว เมื่อเวลาผ่านไป 8 สัปดาห์ภูมิจะเริ่มตกลง ดังนั้นเหล่าทาสจึงจำเป็นต้องเสริมสร้างภูมิที่แข็งแรงโดยการฉีดวัคซีนให้กับน้องแมว

ตรวจสุขภาพก่อนฉีดวัคซีน

หากน้องแมวมีอายุต่ำกว่า 8 สัปดาห์ สัตวแพทย์จะทำการตรวจสุขภาพ หลังจากนั้นจะทำการถ่ายพยาธิให้ก่อนฉีดวัคซีน

อาบน้ำก่อนพามาฉีดวัคซีน 

เหล่าทาสควรอาบน้ำน้องแมวให้เรียบร้อยก่อนที่จะไปฉีดวัคซีน เนื่องจากการอาบน้ำหลังจากฉีดวัคซีนนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ เพราะจะเป็นการขัดขวางการสร้างภูมิคุ้มกันของเชื้อโรคอ่อน ๆ จากวัคซีน ส่งผลให้น้องแมวป่วยไข้ได้ 

ทำให้น้องแมวสบายใจ

อย่างที่เราทราบกันดีแล้วว่าประสาทสัมผัสและการรับรู้ของน้องแมวนั้นเป็นเลิศมากแค่ไหน แล้วยิ่งสถานที่ที่เต็มไปด้วยกลิ่นยา หรือสารเคมีนั้นไม่ต้องพูดถึง สิ่งที่เหล่าทาสสามารถทำได้ดีที่สุดนั่นก็คือให้ความสบายใจกับน้องแมว โดยการให้อยู่ในกระเป๋าแมว หรือกรงที่คุ้นชิน เพื่อป้องกันการวิตกกังวลจากการเผชิญสภาพแวดล้อมที่แปลกไปอย่างกระทันหัน 

ขั้นตอนในการฉีดวัคซีนของน้องแมว

vaccine cat วัคซีนแมว

การฉีดวัคซีนให้แมว

  • ชั่งน้ำหนัก 

สัตวแพทย์จะทำการชั่งน้ำหนัก เพื่อบันทึกประวัติสุขภาพให้กับน้องแมว ขั้นตอนนี้เหล่าทาสจะเห็นถึงพัฒนาการของน้องแมวทุกครั้งในการพาน้องแมวไปยังโรงพยาบาล เพราะจะมีการชั่งน้ำหนักเป็นประจำทุกครั้ง

  • อุ้มแมวขึ้นวางบนโต๊ะ

การอุ้มน้องแมวขึ้นมาบนโต๊ะนั้นจะช่วยให้การฉีดวัคซีนเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น เพราะจะอยู่ในระดับที่พอเหมาะกับร่างกายของสัตวแพทย์ บางครั้งเหล่าทาสอาจจะได้รับอนุญาตให้เข้ามายังภายในห้องได้อีกด้วย 

  • ฉีดวัคซีนให้กับน้องแมว

หลังจากนั้นสัตวแพทย์จะทำการจับน้องแมวให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม ซึ่งก็คือท่าหมอบนั่นเอง และจะค่อย ๆ ฉีดวัคซีนมายังชั้นกล้ามเนื้อด้านหลังลำคอจนหมดหลอด จากนั้นก็จะค่อย ๆ นวดบริเวณที่ถูกฉีดวัคซีนอย่างนุ่มนวล และรอดูอาการ 20-30 นาที หากไม่พบอาการผิดปกติก็สามารถกลับบ้านได้

วิธีการดูแลน้องแมวหลังฉีดวัคซีน

การดูแลน้องแมวหลังฉีดวัคซีนไม่ยาก สามารถให้น้องใช้ชีวิตตามปกติได้ แต่สิ่งที่ต้องห้ามทำเด็ดขาด คือ การอาบน้ำให้น้องแมว เจ้าของต้องงดการอาบน้ำให้แมวเป็นเวลา 7 วัน  

อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน

vaccine cat วัคซีนแมว

หลังจากทำการฉีดวัคซีนเป็นที่เรียบร้อยแล้วน้องแมวอาจมีอาการข้างเคียง ซึ่งแบบได้เป็น 2 อาการ

อาการที่ไม่เป็นอันตราย

น้องแมวอาจมีผลข้างเคียง หรือไม่มีผลข้างเคียงก็ได้ ทั้งนี้เหล่าทาสจำเป็นต้องสังเกตอาการ หากน้องแมวมีอาการเงียบซึม ไข้และน้ำมูกเล็กน้อย รวมถึงอาการบวมบริเวณที่ฉีดวัคซีนก็ไม่จำเป็นต้องเป็นกังวลใจไป เพียงให้น้องแมวพักผ่อนอย่างเพียงพอและรอดูอาการให้ครบ 24 ชั่วโมง หากไม่ดีขึ้นให้นำไปพบสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจอาการอย่างละเอียดได้

อาการที่เป็นอันตราย

มาถึงอาการที่เป็นอันตรายหลังจากการฉีดวัคซีนกันบ้างดีกว่า ถึงแม้จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยแต่ก็ใช่ว่าจะแปลว่าไม่มี ดังนั้นเหล่าทาสจำเป็นต้องดูอาการอย่างใกล้ชิด หากน้องแมวมีอาการหายใจขัดข้อง ไอเรื้อรัง ท้องไส้ปั่นป่วน ผิวบวมตามอวัยวะต่าง ๆ ควรรีบนำไปพบสัตวแพทย์ทันที

การแพ้วัคซีนของน้องแมว

vaccine cat วัคซีนแมว

อาการแพ้วัคซีนในหมาและแมวนั้น พบได้น้อยมาก ๆ แต่เจ้าของก็ควรจะระวังไว้ โดยปกติแล้วอาการแพ้จะแสดงออกมาหลังจากฉีดวัคซีนไปแล้ว 4 ชั่วโมง จนถึง 45 วันหลังฉีด ดังนั้นเจ้าของต้องสังเกตอาการของสัตว์เลี้ยง ส่วนมากแล้วอาการแพ้วัคซีนหมานั้นมักจะพบในหมาสายพันธุ์เล็กมากกว่าสายพันธุ์ใหญ่แต่หากมีอาการแพ้ให้รีบนำไปพบสัตวแพทย์โดยด่วน  

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพ้ 

อาการแพ้วัคซีนหมาและแมวนั้นเกิดจากภาวะภูมิไวเกิน หรือภาวะที่ร่างกายตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันมากจนเกินไปต่อสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ 

อาการที่พบบ่อย 

การแพ้วัคซีนในแมวจะเป็นแบบการแพ้แบบรุนแรงหรืออนาฟัยแลกซิส (Anaphylaxis) โดยมีอัตราการเกิดที่น้อยมากประมาณ 1 – 5 ครั้ง ใน 10,000 ครั้งที่มีการฉีดวัคซีน คิดเป็นประมาณ 0.05 % เท่านั้น โดยอาการที่พบส่วนมากที่เจ้าของจะต้องสังเกตหลังจากฉีดวัคซีนไป 30 นาที ถึง 2 – 3 ชั่วโมง ดังนี้ 

  • อาเจียน

น้องแมวจะมีอาการอาเจียนหลายครั้งเป็นจำนวนติดต่อกัน ซึ่งรวมไปถึงอาเจียนจนกลายเป็นน้ำลาย น้ำย่อยก็ตาม ควรรีบนำไปพบสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจเช็คความผิดปกติอีกที

  • ถ่ายเหลว

ปกติแล้วอาการถ่ายแล้วจะมาพร้อมกับการอาเจียน ซึ่งบางครั้งอาจมีการถ่ายเหลวปนเลือดมาด้วย อาการนี้เป็นสิ่งที่ปกติเป็นอย่างมาก จำเป็นต้องนำไปพบสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรักษาอาการนี้โดยทันที

  • หายใจลำบาก

หากน้องแมวมีอาการหายใจเร็วและแรงขึ้นกว่าปกติ หรือลักษณะของลิ้นที่ยื่นออกมาจากช่องปาก ขณะหายใจอยู่นั้นเป็นอาการของสัตว์เลี้ยงที่หายใจลำบาก และเราสามารถสังเกตได้จากท่าทางในการหายใจ น้องแมวจะยืดคอแหงนขึ้น เพื่อการหายใจที่ดีขึ้น ปากและลิ้นเปลี่ยนสีเป็นม่วงคล้ำ หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที  

  • คันบริเวณหน้า และลำตัว

น้องแมวที่มีอาการคันบริเวณหน้า และลำตัวจะแสดงกิริยาคันอยู่อย่างนั้น ณ บริเวณที่เกิดอาการคัน ซึ่งสามารถเกิดตุ่ม หรือผื่นคันได้ในบางกรณี เหล่าทาสสามารถสังเกตสิ่งผิดปกติได้จากการแหวกขนดูตรงบริเวณที่เกิดอาการคัน 

  • หน้าบวม

หากน้องแมวมีอาการบวมที่หน้าก็คงไม่ใช่เรื่องที่ดีเท่าไหร่นัก เพราะเป็นจุดที่สังเกตได้อย่างง่ายที่สุด โดยอาการบวมนี้จะเกิดได้ที่บริเวณแก้ม จมูก ปาก และหน้าผาก โดยอาการบวมนี้ก็สามารถส่งผลให้เกิดอาการหายใจลำบากเช่นกัน 

  • เป็นลมหมดสติ

หากจู่ ๆ น้องแมวของเราเป็นลมหมดสติไป และไม่มีการตอบสนอง ในกรณีนี้หากสังเกตแล้วว่าอวัยวะช่วงอกและท้องของน้องแมวกำลังทำงานอยู่ ให้เหล่าทาสใช้ฝ่ามือนวดตรงบริเวณที่หน้าอกระหว่างการเดินทางมาพบสัตวแพทย์เพื่อทำการรักษาได้ 

แมวแพ้วัคซีนต้องทำยังไง? 

หากน้องแมวมีอาการแพ้วัคซีนจนทำให้เกิดอาการต่าง ๆ สิ่งที่เหล่าทาสต้องทำคือการมีสติให้มั่น เพราะหากตื่นตระหนกจนเกินไปจะขาดสติ และส่งผลต่อการรักษาในลำดับถัดไป เหล่าทาสควรนำน้องแมวที่มีอาการแพ้วัคซีนเข้าพบสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษา โดยส่วนใหญ่แล้วสัตวแพทย์จะใช้ยาในการรักษา ซึ่งจะเป็นกลุ่มยาแก้แพ้ (Antihistamine) สเตรียลอยด์ (Glucocorticoid) และยาอื่น ๆ ตามอาการของน้องแมวที่แตกต่างกันออกไป 

คำถามที่พบบ่อย

Q: หากเราไม่พาน้องแมวไปฉีดวัคซีนได้หรือไม่ ?

A: หากการฉีดวัคซีนเป็นสิ่งพื้นฐานสำหรับมนุษย์เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ท่ามกลางโลกที่เต็มไปด้วยเชื้อโรคอันตราย สำหรับแมวก็เช่นเดียวกัน เพื่อที่จะให้น้องแมวได้ใช้ชีวิตอย่างแข็งแรง และได้อยู่เคียงข้างคุณอย่างไร้กังวล การฉีดวัคซีนก็ถือเป็นเรื่องจำเป็นไม่แพ้อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่เลย 

Q: วัคซีนตัวไหนที่ไม่ควรฉีดกับให้น้องแมว ?

A: แมวที่ป่วยมีโรคประจำตัว และแมวตั้งครรภ์ เพราะหากฉีดวัคซีนเข้าไปจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดโรคแทรกซ้อน และทำให้ลูกในท้องมีอาการผิดปกติ ตลอดจนถึงการทำให้แมวแท้งได้

Q: หากแมวเคยมีอาการแพ้วัคซีน ควรฉีดต่อหรือไม่ ? 

A: ควรฉีดต่อ เนื่องจากการฉีดวัคซีนประจำปีนั้นสามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันได้ประมาณ 1 ปี ซึ่งหมายความว่าภูมิของน้องแมวจะค่อย ๆ ตกลง และหากไม่ได้รับการกระตุ้นภูมิจากการฉีดวัคซีนก็ส่งผลต่อระบบการทำงานในร่างกาย จากการติดเชื้อที่เข้ามา ซึ่งเป็นสิ่งอันตรายมากกว่าการแพ้วัคซีน ดังนั้นเมื่อจำเป็นต้องฉีดวัคซีนอีกครั้ง ควรแจ้งสัตวแพทย์ให้ละเอียดถึงอาการแพ้วัคซีนของน้องแมว

ขอขอบคุณ

AUTHOR: Arthurchiii

2023, JAN 04

บทความอื่นๆ

แมวท้องผูก ภัยเงียบที่ห้ามมองข้าม !
ทาสจ๋า เรามาทำความรู้จัก 4 จุด นวดคลายเครียดให้น้องแมวกัน!
เห็บหมัดเต็มตัวน้องแมวไปหมดเลย กำจัดยังไงดี!?
แมวเครียดทำอย่างไร หาคำตอบได้ที่นี่!
ประโยชน์ของน้องแมว เพื่อนรักที่เป็นมากกว่าสัตว์เลี้ยง
รวมลิสต์อาหารอันตรายที่แมวห้ามกิน รีบอ่านก่อนจะสายเกินไป!