No products in the cart.

ทำความรู้จักเอเลี่ยนสปีชีส์ สายพันธุ์สัตว์อันตรายจากต่างแดน

แชร์ :

เอเลี่ยนสปีชีส์ exotic

หลายคนๆที่เป็นคอหนัง ไซไฟ อาจจะเคยได้ยินคำว่า Alien Invasion และตอนนี้โลกเราก็กำลังประสบปัญหาการรุกรานของเอเลี่ยนอยู่ แต่อย่าเพิ่งตกใจไป! เพราะเอเลี่ยนในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเอเลี่ยน แต่อย่าเพิ่งตกใจไป จริงๆแล้วมันคือการรุกรานของสัตว์ต่างถิ่นที่มารุกรานและทำลายระบบนิเวศต่างหากล่ะ

วันนี้Pet Please จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับเอเลี่ยนสปีชีส์ สายพันธุ์สัตว์อันตรายจากต่างแดน ว่ามีสายพันธุ์อะไรบ้าง แล้วทำไมพวกมันถึงได้เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ ไปดูกันเลย!

บทความนี้ขอนำเสนอ

  • เอเลี่ยนสปีชีส์ (Alien Species) คือ
  • เอเลี่ยนสปีชีส์ (Alien Species) มีกี่ประเภท
  • สายพันธุ์สัตว์อันตรายจากต่างแดน มีอะไรบ้าง
  • เอเลียนสปีชีส์ สร้างปัญหาได้อย่างไร?
  • เอเลี่ยนสปีชีส์เข้ามารุกรานได้อย่างไร?

เอเลี่ยนสปีชีส์ (Alien Species) คือ

เอเลี่ยนสปีชีส์ exotic

เอเลี่ยนสปีชีส์” (Alien Species) คือสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดในพื้นที่นั้นๆสิ่งแวดล้อมนั้นๆ แต่มาจากการนำเข้ามา หรือแพร่กระจายพันธุ์เข้ามา สร้างผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เสียหายของระบบนิเวศดั้งเดิมซึ่งเป็นปัญหาอันดับ1ที่เกิดขึ้นในหลายๆประเทศ

เอเลี่ยนสปีชีส์ (Alien Species) มีกี่ประเภท

เอเลี่ยนสปีชีส์ exotic

ประเภทที่ไม่รุกราน

เป็นประเภทที่ไม่ได้ตั้งใจเข้ามาขัดขวางระบบนิเทศหรือมีผลต่อระบบนิเวศโดยตรงเป็นสายพันธุ์ที่อยู่แบบไม่แข่งขันหรือขัดขวางการอยู่อาศัยของสิ่งมีชิวิตชนิดอื่น เช่น ปลานิล ปลาไน ปลาจีน เป็นต้น

ประเภทที่รุกราน

เป็นประเภทที่ชอบการแข่งขันและมันส่งผลต่อระบบนิเวศทางตรงที่สำคัญเป็นชนิดที่แพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดการเปลี่ยนของระบบนิเวศและสิ่งมีชิวิตพื้นเมือง ได้แก่ ปลากดหลวง ปลาดุกแอฟริกัน หอยเชอรี่ เป็นต้น

สายพันธุ์สัตว์อันตรายจากต่างแดน มีอะไรบ้าง

เอเลี่ยนสปีชีส์ exotic

แมวจรจัด

แมวจรจัด หรือ แมวที่ไม่มีเจ้าของ ไร้ที่อยู่อาศัย สำหรับน้องแมวเชื่อว่าคงเป็นเพื่อนรักของใครหลายๆคน สัตว์เลี้ยงที่คอยปลอบโยนความรู้สึก เป็นดั่งคนในครอบครัว ถึงแม้จะมีคนรักแมวที่ชอบเลี้ยงแมวมากแค่ไหน แต่เมื่อปี 2562 มีปริมาณของน้องแมวที่ไม่มีเจ้าของเป็นจำนวนมาก โดยสาเหตุหลักที่ทำให้น้องแมวต้องกลายมาเป็นแมวจรจัดก็คือ ปัญหาที่ไม่พร้อมเลี้ยงของเจ้าของ บ้างก็หนีออกจากบ้าน ซึ่งเรามักจะเห็นน้องแมวจรจัดเหล่านี้อยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตามถนน วัด หรือพื้นที่ชุมชนต่างๆ

ความเสียหายและอันตรายจาก จากแมวบ้านและ แมวจรจัด

  • เป็นพาหะนำโรคร้ายมาสู่สัตว์เลี้ยงในบ้านและมนุษย์ได้ เพราะสภาพแวดล้อมที่น้องอยู่
  • คุกคามและทำร้ายสัตว์ในท้องถิ่นนั้นๆ
  • สัตว์ในท้องถิ่นถูกแย่งอาหารและแย่งที่อยู่อาศัย
เอเลี่ยนสปีชีส์ exotic

ผักตบชวา

คงเป็นที่คุ้นหน้าคุ้นตาสำหรับพืชสายพันธุ์นี้ ซึ่งสามารถเห็นได้ทั่วไปจากแหล่งน้ำต่างๆเป็นพืชล้มลุกที่ถูกนำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซีย ก่อนหน้านี้พวกมันถูกใช้เป็นไม้ประดับเพื่อความสวยงาม แต่พวกมันกลับเป็นวัชพืชที่มี อายุยืน อยู่ได้ทุกสภาพน้ำ แถมขยายพันธุ์ได้รวดเร็วจนทำให้มีปริมาณมากจนเกินไปอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน

ความเสียหายที่เกิดจากผักตบชวา

  • การเพิ่มของผักตบชวาส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง
  • แย่งออกซิเจนและแร่ธาตุสำคัญ จากสัตว์น้ำหรือสิ่งมีชิวิตบริเวณนั้นๆ
  • ขัดขวางเส้นการเดินเรือหรือทางคมนาคม
เอเลี่ยนสปีชีส์ exotic

หอยเชอรี่

หอยเชอรี่เป็นหอยทากน้ำจืด รูปร่างคล้ายหอยโข่ง แต่เปลือกมีสีอ่อนกว่า แถมยังมีชื่อเรียกน่ารักกว่า ฟังดูน่ารัก แต่ความจริงพวกมันไม่ได้น่ารักอย่างที่คิดเลย เพราะถือเป็นหนึ่งในเอเลี่ยนสปีชีส์ที่ทำให้ระบบนิเวศเสียหาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเกษตรกร เนื่องจากพวกมันเป็นศัตรูพืชสำคัญที่ทำลายนาข้าว เมื่อมีการกำจัดที่ไม่ถูกวิธีจึงส่งผลให้สิ่งมีชีวิตอื่นถูกทำลายไปด้วย แถมบางคนก็เอาไปทำอาหารบ้าง แต่จริงๆแล้วพวกมันเป็นหอยที่มีพิษ หากนำไปปรุงอาหารโดยไม่นำพิษของมันออกมาก่อนก็อาจทำให้คุณเป็นอัมพาตหรือถึงตายได้เลยน้า

ความเสียหายที่เกิดจากหอยเชอรี่

  • เป็นศัตรูพืชที่สร้างความเสียหหายในวงกว้างเพราะพวกมันชอบกัดกินต้อข้าวหรือพืชอ่อนๆจนมีความเสียหาย และส่งผลต่อการดำรงชีพของเกษตรกร
  • การกำจัดหอยเชอรี่ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตหรอสิ่งแวดล้อมบริเวณนั้นเกิดความเสียหาย เพราะส่วนใหญ่มักจะกำจัดด้วยสารเคมี
เอเลี่ยนสปีชีส์ exotic

หอยทากแอฟริกา Achatina fulica

เจ้าหอยทากตัวนี้มีถิ่นกำเนิดในฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกา และได้ถูกนำเข้าไปในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย เพื่อเป็นสัตว์เลี้ยง เป็นอาหาร หรือการนำเข้าไปโดยไม่ได้ตั้งใจ อาทิในอินเดียที่ติดมากับไม้ซุกในพม่า จนทำให้ปัจจุบันพวกมันกลายเป็นหนึ่งในสัตว์รุกรานจากต่างถิ่นที่ควบคุมยากที่สุดในโลก 

ความเสียหายและอันตรายจากหอยทากแอฟริกา  

  • หอยทากชนิดนี้ถือเป็นสัตว์รุกรานจากต่างถิ่นที่สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงที่สุดชนิดหนึ่ง จนก่อให้เกิดความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
  • พวกมันจะทำลายผลผลิตทางการเกษตรของชาวบ้าน สร้างความเสียหายให้สิ่งปลูกสร้างต่างๆ
  • ก่อให้เกิดโรคทั้งในมนุษย์และสัตว์ ซึ่งพวกมันเป็นสาเหตุของโรคอย่างโณคพยาธิปอดหนู และโรคพยาธิหอยโข่ง
เอเลี่ยนสปีชีส์ exotic

ปลากดหลวง (Ictalurus punctatus) 

ปลากดหลวงหรือ ปลาเทศบาล เป็นปลาน้ำจืดที่นิยมเลี้ยงในสหรัฐอเมริกา และถูกนำเข้ามาเพื่อเพาะพันธุ์ในประเทศไทย เมื่อหลุดออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติจึงกินปลาพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำต่างๆ รวมถึงแย่งอาหารและที่อยู่อาศัยจนทำให้เสียสมดุลและสูญพันธุ์

ความเสียหายและอันตรายจาก ปลากดหลวง

  • เกิดปัญหาขาดออกซิเจนในน้ำและให้เกิดการเสียสมดุล
  • ทำให้ปลาหรือสัตว์น้ำสายพันธุ์อื่นๆสูญพันธุ์
  • การสืบพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ อาจมีการผสมพันธุ์ที่ทำให้เกิดลูกผสม ส่งผลให้พันธุกรรมเสื่อม ลดอัตราการเกิดในรุ่นต่อไป
เอเลี่ยนสปีชีส์ exotic

ปลาดุก

เชื่อว่าคงไม่มีใครไม่รู้จักปลาชนิดนี้ เพราะเป็นปลาที่คนไทยนิยมปล่อยลงแม่น้ำเพื่อเป็นการทำบุญมากที่สุด  แต่กลับไม่มีใครรู้ว่าอุปนิสัยของพวกมันเป็นสัตว์น้ำจอมเขมือบที่กินไม่เลือก และส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ และส่วนมากเป็นสายพันธุ์ ปลาดุกบิ๊กอุย ซึ่งเป็นพันธุ์ผสมระหว่าง ปลาดุก อุย ของไทยกับ ปลาดุกรัสเซีย จนได้มาเป็นปลาดุกที่มีขนาดตัวที่ใหญ่ แต่ ปัจจุบันมีปลาดุกอื่นมาผสมอีก จนตอนนี้ก็มีปลาดุกพันธุ์ผสมอีกหลากหลาย จนมีปริมาณมากจนเกินไป

ความเสียหายและอันตรายจากปลาดุก

  • การแพร่กระจายของปลาเทศบาลอย่างปลาดุกทำให้พวกมันยึดครองพื้นที่ จนทำให้สัตว์สายพันธุ์ท้องถิ่นต้องสูญพันธุ์
  • ทำให้ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพของท้องถิ่นนั้นเสียความสมดุล 
  • แพร่โรคระบาดและเป็นพาหะของปรสิตหรือพยาธิ เช่นโรคหนอนสมอ และ ราปุยฝ้าย
เอเลี่ยนสปีชีส์ exotic

ปลาซักเกอร์

ปลาซัคเกอร์ หรือ ปลากดเกราะ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแหล่งน้ำของทวีปอเมริกาใต้  เมื่อปี พ.ศ. 2520 มีการนำปลาชนิดนี้เข้ามาเลี้ยงในเมืองไทยเพื่อทำความสะอาดตู้ปลา  เมื่อพบว่า มีขนาดใหญ่ขึ้น และมีรูปร่างน่ากลัว สาเหตุหนึ่งที่มีผู้นำปลาซัคเกอร์ไปปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติกันมาก เพราะเชื่อว่า ปลาซัคเกอร์คือปลาราหู  จึงนำไปปล่อยเพื่อหวังสะเดาะเคราะห์ ซึ่งกลายเป็นปัญหาอย่างมากถึงปัจจุบัน

ความเสียหายและอันตรายจากปลาซัคเกอร์ 

  • ปลาชนิดนี้เป็นเอเลียนสปีชีส์จึงส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยพวกมันจะกินไข่ของปลาพื้นที่นั้นๆ จนทำให้เกิดการสูญพันธุ์
  • แย่งอาหารของสัตว์น้ำวัยเด็กจนทำให้สัตว์น้ำวัยเด็กไม่สามารถเจริญเติบโตและหายไปจากธรรมชาติในที่สุด
เอเลี่ยนสปีชีส์ exotic

ปลาช่อนอเมซอน

ปลาช่อนอเมซอนเป็นปลาที่มาจากแอฟริกาใต้ เกิดจากการนำเข้ามาของมนุษย์เพื่อเลี้ยงเป็นปลาสวยงามแต่ทว่า ปลาช่อนเมซอนอขึ้นชื่อว่าเป็นสัตว์นักล่า ที่มีขนาดใหญ่ หากหลุดมายังแหล่งน้ำธรรมชาติจะทำให้ระบบนิเวศเสียหายอย่างรุนแรง

ความเสียหายและอันตรายจากปลาช่อนเอมซอน

  • สัตว์น้ำท้องถิ่นถูกแย่งที่อยู่อาศัย และอาหารส่วนมากกลายเป็นอาหารของปลาช่อนเมซอนจนเกือบสูญพันธุ์
  • ความหลากหลายทางชีวิภาพลดลงและอาจนำไปสู่การสูญเสียด้านเศรษฐกิจ
เอเลี่ยนสปีชีส์ exotic

เอเลียนสปีชีส์ สร้างปัญหาได้อย่างไร?

ปัญหาที่มาจากการรุกรานของเอเลี่ยนสปีชีส์สามารถส่งผลกระทบในวงกว้างซึ่งถ้าหากไม่ได้รับแก้ไขปัญหาที่ถูกวิธีก็จะทำให้ปัญหานี้เกิดขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด โดยมีดังต่อไปนี้

  1. การเพิ่มขึ้นของจำนวนเอเลี่ยนสปีชีส์ทำให้สัตว์น้ำหรือสิ่งมีชีวิตท้องถิ่นสูญพันธุ์ เพราะถูกแย่งอาหาร บ้างถูกแย่งที่อยู่อาศัยหรือกลายเป็นอาหารของพวกเอเลี่ยนสปีชีส์เสียเอง
  1. การรุกรานของเอเลี่ยนสปีชีส์ไม่เพียงแต่สร้างปัญหาหรือเป็นภัยแค่สัตว์น้ำหรือสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่น แต่ยังส่งผลกระทบถึงมนุษย์ในการดำรงชีวิตอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ชาวประมง หรือเกษตรกร จนนำไปสู่ความสูญเสียผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจในที่สุด
  1. เป็นพาหะและตัวนำเชื้อโรคมามาแพร่กระจายจนทำให้เกิดโรคร้ายใหม่ๆต่อสัตว์ในท้องถิ่น ถ้าหากไม่ได้รับการควบคุมหรือป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากพอ อาจส่งผลเสียในระยะยาวและกลายเป็นโรคที่อันตรายจนทำให้เสียชีวิต
  1. เกิดความเสียหายด้านพันธุกรรม นอกจากเอเลี่ยนสปีชีส์จะเข้ามาแย่งอาหารแย่งที่อยู่  พวกมันบางสายพันธุ์อาจเข้ามาสมพันธุ์กับสัตว์ในท้องถิ่น จนทำให้ลูกที่เกิดมาเป็นลูกผสมบางตัวก็อาจจะไม่รอดหรือเป็นหมัน ส่งผลให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง
เอเลี่ยนสปีชีส์ exotic

เอเลี่ยนสปีชีส์เข้ามารุกรานได้อย่างไร?

การที่สัตว์น้ำต่างถิ่นเข้าไปอาศัยในธรรมชาติได้นั้น ล้วนมีต้นตอจากมนุษย์โดยแบ่งได้ 2 วิธีใหญ่ๆ คือการรุกรานด้วยฝีมือมนุษย์ สัตว์เอเลี่ยนสปีชีส์ที่เป็นปัญหาในไทย ที่นำเข้าโดยตั้งใจเป็นการปล่อยเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ของมนุษย์โดยตรง เช่น เพื่อการทำบุญตามความเชื่อ ปล่อยทิ้งเนื่องจาก เบื่อที่จะเลี้ยง หรือขาดทุนในการเพาะเลี้ยงเพื่อการค้า และการปล่อยทิ้ง เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับกุมจากเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะสัตว์น้ำที่นำเข้ามาหรือครอบครองอย่างผิดกฎหมาย ไม่ว่าเป็น ปลากดเกราะ ปลากดเกราะดำ ปลาดุกแอฟริกัน หอยเชอร์รี่ ปลาหมอสีคางดำ ตะพาบไต้หวัน ปลาทับทิม ปลานิล การปล่อยโดยความตั้งใจอีกประเภท คือการปล่อยโดยหน่วยงานราชการเองเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการเพิ่มผลผลิตแหล่งน้ำในธรรมชาติและแหล่งน้ำที่ถูกสร้างขึ้น หรือการปล่อยในพิธีการและโครงการต่างๆ เช่น โครงการประชาอาสา โครงการประมงหมู่บ้าน รวมไปถึงการปล่อยเพื่อทำบุญของประชาชนที่อาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ด้วย การปล่อยสัตว์เหล่านี้จะส่งผลให้เกิดปัญหาระบบนิเวศ เกิดความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ สัตว์ท้องถิ่นชนิดอื่นมีจำนวนลดลงถึงขั้นสูญหาย เนื่องจากการถูกคุกคามจากสัตว์ต่างถิ่น

 สิ่งสำคัญที่สุดในการจัดการไม่ให้จำนวนเอเลี่ยน สปีชีส์ เพิ่มจำนวนหรือแพร่พันธุ์ออกไป คือ ทุกคนอย่านำสัตว์หรือพืชต่างถิ่นมาเพาะพันธุ์หรือนำเข้ามาโดยขาดความรู้ ความเข้าใจ และความรับผิดชอบ หรือสำหรับคนที่เลี้ยงหรืออยากนำเข้ามา เราจะต้องรู้วิธีะควบคุม เพราะถ้าหากวันหนึ่งเราเป็นคนที่เลี้ยงและปล่อยพวกมันออกไปสู่ธรรมชาติ จนควบคุมไม่ได้ อาจส่งผลให้เกิดผลเสียอื่นๆตามมา และที่สำคัญเราอาจจะรู้สึกผิดไปตลอดชีวิตเลยน้า

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

AUTHOR: AEOHHH

2023, MARCH 09

บทความอื่นๆ

ทำความรู้จัก ”ไก่ซิลกี้” เจ้าไก่ขนฟูสุดน่ารัก!
เลิฟเบิร์ด…นกที่ขึ้นชื่อว่าเป็น Little Parrot
ทำความรู้จัก “คาปิบารา” สัตว์ตัวใหญ่ยักษ์ที่กำลังเป็นไวรัลตอนนี้!
มาทำความรู้จักกับราชาแห่งนกฟินซ์ กับนกฟินซ์ 7 สีกัน!
10 อันดับ สัตว์แปลกสุดหายากที่นึกว่าโปเกม่อน!
ทำความรู้จัก Call Duck เป็ดไซส์มินิสุดน่ารัก