No products in the cart.

มาทำความรู้จักกับเจ้ากระต่ายฮอลแลนด์ลอป สัตว์เลี้ยงหูยาวแสนน่ารัก!

แชร์ :

กระต่าย
ฮอลแลนด์ลอป
hollandlop

หนึ่งในสัตว์เลี้ยงช่วยคลายความเหงา เจ้ากระต่ายหูตก ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ฮอลแลนด์ลอป สายพันธุ์ยอมนิยมในอเมริกา รวมถึงประเทศไทย จนมีการจัดตั้งมาตรฐานและการประกวดขึ้นหากใครได้เลี้ยงแล้วจะต้องหลงรัก วันนี้Petpleaseจะพาทุกไปทำความรู้จัก เจ้าสัตว์เลี้ยงสุดนุ่มนิ่ม อย่างกระต่ายฮอลแลนด์ลอป กัน

บทความนี้ข้อนำเสนอ

  • ถิ่นกำเนิดกระต่ายฮอลแลนด์ลอป
  • ลักษณะของกระต่ายฮอลแลนด์ลอปที่ตรงมาตรฐาน
  • ลักษณะนิสัยกระต่ายฮอลแลนด์ลอป
  • วิธีเลี้ยงกระต่ายฮอลแลนด์ลอป
  • โรคที่ต้องระวังในการเลี้ยงกระต่ายฮอลแลนด์ลอป
  • 5 สัญญาณที่บ่งบอกว่ากระต่ายของคุณป่วย
  • สิ่งที่ไม่ควรทำในการเลี้ยงกระต่าย
  • คำถามที่พบบ่อย

ถิ่นกำเนิดกระต่ายฮอลแลนด์ลอป

กระต่าย ฮอลแลนด์ลอป hollandlop

กระต่ายฮอลแลนด์ลอปเป็นกระต่ายพันธุ์เล็กที่ได้จากการผสมพันธุ์ ระหว่าง French Lop กระต่ายหูตกไซส์ยักษ์และ Natherland Dwarft กระต่ายหูตั้งสายพันธุ์ที่เล็กที่สุดโดยมีต้นกำเนิดมาจากประเทศเนเธอร์แลนด์ จริงๆแล้วสมัยก่อนน้องไม่ได้มีหน้าตาน่ารักเหมือนอย่างในปัจจุบันน้าทุกคน บางตัวหน้าแหลม บางตัวหูตกไม่สนิท และถูกพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาร่วมๆ 50 ปีแล้ว  จนกระทั่งเกิดสายพันธุ์หูตกตัวเล็ก อย่าง Holland Lop ขึ้นมานั่นเอง และได้รับการจดทะเบียนรับรองมาตรฐานสายพันธุ์ จาก Netherlands’ Governing Rabbit Council in 1964 จนเป็นที่โด่งดังไปถึงอเมริกา จน American Rabbit Breeder’s Association ให้การรับรองมาตรฐานในปี 1976 

ลักษณะของกระต่ายฮอลแลนด์ลอปที่ตรงมาตรฐาน

กระต่าย ฮอลแลนด์ลอป hollandlop

1. ลักษณะหัวต้องกลมโต
2. กล้ามเนื้อหนาแน่น
3. ลำตัวสั้นกระทัดรัด สมส่วนทั้งความยาว ความกว้าง และความสูง
4. สัดส่วนของลำตัว และหัว ควรจะเป็น 3 : 1 โดยหัวที่โต จะต่อกับลำตัวแลดูเหมือนไม่มีคอ
5. ไหล่ และอกกว้าง หนาและเต็ม เช่นเดียวกับสะโพก
6. ขาสั้น ขนนุ่มลื่น
7. หน้าตรง และกระดูกใหญ่และหนา
8. ใบหูสั้น ใบหูทั้งสองข้างต้องตกแนบสนิทกับแก้ม และใบหูต้องหนาและมีขนขึ้นเต็ม ใบหูต้องยาวเลยจากคางไม่เกิน 1 นิ้วความยาวของหูต้องสัมพันธ์กับหัวและตัว
9. น้ำหนักตัวตามมาตรฐานในตัวผู้ คือ 1.6 ก.ก. ในตัวเมีย 1.7 ก.ก. และน้ำหนักที่มากที่สุดที่สามารถจดทะเบียนได้คือ 1.8 ก.ก.  
10.มีหลากหลายสีแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆได้ถึง 7สี

ลักษณะนิสัยกระต่ายฮอลแลนด์ลอป

กระต่าย ฮอลแลนด์ลอป hollandlop

ไม่แปลกใจเลยถ้าหากคุณจะโดนเจ้ากระต่ายฮอลแลนด์ลอปตก เพราะอะไรนะหรอ? เพราะด้วยความที่เจ้าตัวนี้เป็นสัตว์เลี้ยงที่ค่อนข้างเชื่อง บางตัวเจอเจ้าของเป็นต้องวิ่งหา และนอกจากหน้าตาสุดน่ารัดน่าเอ็นดูแล้วพวกมันยังเป็นสัตว์ที่ฉลาดและแสนรู้ด้วย แต่ฮอลแลนด์ลอปก็ยังคงมีความเป็นนิสัยกระต่ายสูงอยู่ ที่เรียกได้ว่าใช้ชีวิตส่วนใหญ่หมดไปกับการนอน ยิ่งถ้าช่วงไหนคุณไม่อยู่บ้านละก็ เจ้าหูยาวฮอลแลนด์ลอปก็จะนอนหลับทั้งวันไปเลยจ้า นอกจากนิสัยที่ชอบนอน ลักษณะเด่นอีกอย่างนั่นก็คือ การกิน จริงๆแล้วกระต่ายเป็นสัตว์ที่หากินตอนกลางคืน แต่ปัจจุบันเจ้ากระต่ายพันธุ์นี้ดูเหมือนจะกินแทบตลอดเวลา ขณะเดียวกันเจ้ากระต่ายฮอลแลนด์ลอปก็มีโลกส่วนตัวสูง แต่ก็ยังต้องการเวลาที่จะได้รับการดูแลเอาใจใส่จากเจ้าของ

วิธีเลี้ยงกระต่ายฮอลแลนด์ลอป

กระต่าย ฮอลแลนด์ลอป hollandlop

กระต่ายฮอลแลนด์ลอปเป็นกระต่ายสายพันธุ์ที่เลี้ยงไม่ยาก พวกมันมักอยู่นิ่งๆลักษณะนิสัยเด่นก็จะมีอยู่แค่2อย่าง นั่นก็คือ กินแล้วก็นอน โดยเฉพาะเวลาที่เจ้าของไม่อยู่บ้านหายห่วงได้เลย เพราะน้องสามารถนอนได้สบายๆทั้งวัน ดังนั้นวิธีการเลี้ยงหลักๆก็ไม่มีอะไรมากแค่ดูแลในเรื่องของอาหารการกิน ที่อยู่อาศัยและความสะอาดของน้องให้ถูกต้องเหมาะสมก็เพียงพอแล้วค่ะ

พิจารณาสถานที่เลี้ยง

สำหรับการเลี้ยงเจ้ากระต่ายฮอลแลนด์ลอปสามารถเลี้ยงได้ทั้งแบบกรงและแบบเป็นพื้นที่ปิดหรือแบบพื้นที่เปิดที่มีบ้านกระต่ายเป็นของตัวเองควรให้อยู่พื้นที่โล่ง ไม่มีมุมและไม่มีด้านที่มความคม เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่างๆ กรงสามารถทำความสะอาดได้อย่างง่ายดายมีอากาศถ่ายเทอย่างเหมาะสมมีอุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่ร้อนหรือไม่หนาวจนเกินไป ที่สำคัญต้องไม่อับชื้นไม่มีเสียงดังรบกวนปลอดภัยจากสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น เช่น สุนัข แมว 

จัดเตรียมน้ำให้พร้อม

กระต่ายฮอลแลนด์ลอปชื่นชอบการกินเป็นชีวิตจิตใจ ที่ขาดไม่ได้เลยคือน้ำและอาหารควรตั้งน้ำไว้ให้น้องสามารถดื่มกินได้อยู่เสมอโดยเฉพาะกระต่ายตัวเล็กหรือลูกกระต่ายควรเป็นขวดน้ำแบบมีหัวลูกกลิ้งหรือหัวขวดแบบจุก จะต้องมีการล้างทำความสะอาดขวดน้ำอยู่เสมอ

เลือกอาหารคุณค่าสูงและเหมาะสมกับวัย

อาหารเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะสัตวืที่ชื่นชอบการกินอย่างกระต่ายฮอลแลนด์ลอปอาหารที่มีคุณค่าและเหมาะสมกับกระต่ายฮอลแลนด์ฮอปคือ อาหารประเภทอัลฟ่าและหย้าแห้งแบบทิมโมธีแห้งช่วยให้ระบบย่อยอาหารมีประสิทธิภาพ ทำให้เส้นขนที่อยู่ภายในกระเพาะอาหารถูกย่อยสลายและผลักออกมาตามระบบขับถ่ายปกติปริมาณอาหารที่ทานในแต่ละวันเน้นหย้าแห้งประมาณ80เปอร์ ที่เหลือเป็นผักและผลไม้สดไม่ควรเปลี่ยนอาหารแบบกะทันหัน

เล่นด้วยพอประมาณ

การเล่นโดยการเล่นกับน้องอย่างเบามือ ไม่ควรเล่นหนักมือเหมือนที่เล่นกับสุนัขหรือแมว กระต่ายเป็นมิตรมักตกใจง่าย อาจทำให้กระต่ายเสียชีวิตได้เลยทีเดียวการอุ้ม การอุ้มเล่นอย่างอ่อนโยนให้ความรู้สึกที่มั่นคง อบอุ่น 

ถ่ายพยาธิประจำ

สำหรับกระต่ายควรมีการถ่ายพยาธิปีละ1ครั้ง ต้องตรวจเช็คพฤติกรรมกระต่ายอยู่เสมอควรพากระต่ายไปตรวจสุขภาพปีละ1ครั้ง

ความสะอาดสำคัญมาก

ควรมีการเช็คตา หู ดูแลไม่ให้มีคราบสกปรกที่ตัว อย่าลืมเช้ดก้นของกระต่ายต้องมีการเช็ดคราบอุจจาระที่ติดอยู่ทุกวัน ควรทำความสะอาดในส่วนของที่อยู่ ที่นอน และกระบะขับถ่าย ทุกวัน ห้ามไม่ให้มีความชื้นหรืออับชื้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคร้ายการทำความสะอาดช่วยฝึกให้กระต่ายมีนิสัยน่ารัก ไม่ก้าวร้าวจากความเครียดและความหงุดหงิดที่ต้องอยู่กับความสกปรกอีกด้วย

โรคที่ต้องระวังในการเลี้ยงกระต่ายฮอลแลนด์ลอป

กระต่าย ฮอลแลนด์ลอป hollandlop

โรคฝี

เกิดจากการติดเชื้อใต้ผิวหนัง ลักษณะเป็นก้อนที่คลำพบได้ที่ผิวหนัง ในก้อนที่คลำพบนั้นจะมีหนองอยู่ต้องรอให้ฝีสุกจึงเจาะเอาหนองออกได้โดยส่วนใหญ่โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ สแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียส ( Staphylococcus aureus ) ทำให้กระต่ายป่วย ซึม เริ่มไม่ทานอาหาร ดังนั้นคนเลี้ยงจึงต้องระวังและใส่ใจในเรื่องความสะอาดอยู่สม่ำเสมอเพื่อป้องกันเชื้อโรคและแบคทีเรีย ไม่ว่าจะเป็นกรงที่น้องอยู่ อาหารโภชนาการ และความสะอาดของตัวน้องกระต่ายเอง

ฮีทสโตรก

เมื่อพูดถึงฮีทสโตรกเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยงได้บ่อยหรือแม้แต่มนุษย์อย่างเราๆ เนื่องจากประเทศไทยขึ้นชื่อเรื่องอากาศร้อนมาก บางวันอุณหภูมิสูงถึง 40-43 องศาเซลเซียส ซึ่งหลายๆคนอาจจะยังไม่รู้ว่ากระต่ายมีการระบายความร้อออกจากร่างกายผ่านทางหูเพียงทางเดียวเท่านั้น ทำให้กระต่ายไวต่อโรคฮีทสโตรกมาก เมื่อเกิดภาวะนี้ขึ้นจะทำให้กระต่ายหายใจลำบาก หอบ อ่อนเพลีย อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น หากเป็นเช่นนี้ควรนำกระต่ายไปไว้ในที่เย็นหรือจุ่มตัวกระต่ายลงน้ำเย็นหรือเพื่อป้องกันอาการช็อคให้ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำบิดหมาดๆแล้วนำมาห่อตัวน้องเพื่อระบายความร้อนแทนค่ะ

เห็บหมัด

เห็บหมัดถือเป็นโรคที่พบในสัตว์เลี้ยงเกือบทุกประเภทและเป็นโรคที่พบได้บ่อยเช่นกัน สามารถเกิดได้กับสัตว์เลี้ยงทั่วไปที่มีขนยาวปกคลุม ซึ่งอาการที่สังเกตได้คือกระต่ายจะผิวแห้ง เป็นรังแค และจะคันตามตัว แนะนำว่าควรพากระต่ายไปพบสัตวแพทย์เพื่อรับยากำจัดเห็บหมัด เนื่องจากเห็บหมัดอาจทำให้กระต่ายเป็นโรคผิวหนังหรือโรคโลหิตจางได้ และอาจนำไปสู่การเกิดโรคร้ายแรงอื่นๆตามมา เช่น ระบบภูมิคุ้มกัน เยื่อบุตาอักเสบ ปอดบวม แต่อย่าเพิ่งเป็นกังวลไปจริงๆแล้วเราสามารถป้องกันเห็บหมัดเหล่านี้ได้ด้วยการถ่ายพยาธิ และใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัดโดยตรง ที่สำคัญควรทำความสะอาดและฆ่าเชื้อที่นอน กรง ของน้องกระต่ายอยู่เสมอ เพื่อป้องกันเหล่าบรรดาเห็บหมัดไม่ให้มาเกาะน้องๆ

ฉี่เป็นเลือด

สีปัสสาวะของกระต่ายปกติคือสีเหลือง แต่ในบางครั้งเราสามารถพบปัสสาวะสีอื่นๆ เช่น สีแดง น้ำตาล ส้ม ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าของกระต่่ายจะบอกหมอว่า “กระต่ายฉี่เป็นเลือด” สาเหตุของสีที่เปลี่ยนไปมาจากหลายสาเหตุเช่น สารสีจากพืชที่เรียกว่าพอร์ไฟรินสารตัวนี้จะทำให้ฉี่กระต่ายเป็นสีแดง อาการนี้ไม่เป็นอันตรายใดๆโดยมากจะหายไปเองใน2 วัน นอกจากนี้ยาปฏิชีวนะ ภาวะการขาดน้ำหรือความเครียดก็อาจส่งผลให้ฉี่ของกระต่ายเปลี่ยนสีได้เช่นกัน

 5 สัญญาณที่บ่งบอกว่ากระต่ายของคุณป่วย

กระต่าย ฮอลแลนด์ลอป hollandlop

ไม่ร่าเริง อ่อนแอ กินอาหารน้อยลง

เกิดขึ้นได้กับกระต่ายทุกตัวทุกสายพันธุ์ สังเกตได้จากอาหาร น้ำ ที่ให้น้องกินในแต่ละวัน หากเหลือกปริมาณเท่าเดิมแสดงว่ากระต่ายของคุณกำลังป่วย

แต่งขนน้อยลง

กระต่ายที่มีสุขภาพที่ดีมักจะดูแลตัวเองให้สะอาดอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะบริเวณอุ้งเท้าหรือที่เท้า

หัวเอียง

สำหรับอาการหัวเอียงคือการที่ตำแหน่งของหูและตาไม่อยู่ในระนาบเดียวกัน เกิดขึ้นได้โดยเฉียบพลัน หมั่นสังเกตบ่อยๆว่ากระต่ายของคุณหัวเอียงหรือไม่ เพื่อที่จะได้รักษาได้ทันเวลา

มีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

เป็นอาการที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น มีน้ำมูก จาม อ้าปากหายใจ หายใจลำบาก เป็นอาการเฉียบพลันที่จำเป็นต้องรักษาโดยด่วน

ไม่มีอุจจาระ หรืออุจจาระกลมไม่เท่ากัน หรือมีปริมาณน้อย

เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้หลังจากที่กระต่ายไม่กินอาหาร ทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานน้อยลงการบีบตัวของระบบทางเดินอาหารก็น้อยมาจากการกินอาหารที่มีไฟเบอร์น้อยเกินไป

สิ่งที่ไม่ควรทำในการเลี้ยงกระต่าย

กระต่าย ฮอลแลนด์ลอป hollandlop
  • อย่าหิ้วหูกระต่ายเด็ดขาดหลายคนยังมีความเข้าใจผิดๆเรื่องการหิ้วที่หูของกระต่ายเพื่อไม่ให้กระต่ายดิ้น ซึ่งนั่นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องเลยเพราะที่หูของกระต่ายมีเส้นประสาทอยู่จำนวนมากหากหิ้วที่หูของกระต่ายนั่นหมายถึงหูของเค้าจะต้องรับน้ำหนักตัวทั้งหมดส่งผลให้กระต่ายได้รับบาดเจ็บ ที่สำคัญคืออาจทำให้ใบหูฉีกขาด 
  • อย่าให้อาหารประเภทแป้งหรือคาร์โบไฮเดรต เพราะจะทำให้น้องท้องเสียหรือท้องผูก
  • อย่าอาบน้ำให้กระต่ายบ่อยเกินไป ควรอาบประมาณ3-4ครั้งต่อเดือนก็เพียงพอแล้วค่ะ
  • หากบ้านไหนเลี้ยงแมว ไม่ควรเอาห้องน้ำแมวที่มีสารดับกลิ่นมาใช้ร่วมกันกับกระต่าย ควรใช้เป็นขี้เลื่อยหรือหนังสือพิมม์แท

คำถามที่พบบ่อย

Q: กระต่ายฮอลแลนด์ฮอปจำเป็นต้องอาบน้ำไหม?

A: อันที่จริงแล้วกระต่ายไม่จำเป็นต้องอาบน้ำ เพราะตัวของน้องกระต่ายสะอาดมากอยู่แล้ว แต่ถ้าหากพบว่าน้องดูมอมแมมเลอะเทอะ ฏ้สามารถนำน้องไปอาบน้ำได้ แต่ควรระมัดระวังเรื่องการใช้แชมพู ต้องเป็นสูตรอ่อนโยนและไม่มีสารเคมีรุนแรง 

Q: กระต่ายฮอลแลนด์ลอปจำเจ้าของได้ไหม?

A: สามารถตอบได้อย่างมั่นใจเลยค่ะ ว่ากระต่ายออลแลนด์ฮอปสามารถจำเจ้าของได้อย่างแม่นยำ เนื่องจากน้องกระต่ายฮอลแลนด์ฮอปสามารถเรียนรู้ได้ว่าใครเป็นคนดูแลเขา ให้อาหารเขา หรือเป็นคนที่เขาไว้ใจโดยน้องจะวิ่งเข้ามาหาเจ้าของทันทีที่น้องมองเห็นเรา เพียงแค่ต้องให้เวลาให้น้องได้ทำความคุ้นเคยหรือเคยชินกับเรามากกว่าสุนัขหรือน้องแมวเท่านั้นเอง

Q: สามารถเลี้ยงกระต่ายฮอลแลนด์ลอปไว้นอกบ้านได้ไหม?

A: เราสามารถเลี้ยงกระต่ายไว้ในบ้านหรือนอกบ้านก็ได้ หากเลี้ยงในบ้านสภาพกรงควรเป็นพื้นเรียบ เพราะถ้าหากมีลวดหรือกระจก อาจทำร้ายกระต่ายให้ได้รับบาดเจ็บได้  แต่ถ้าหากเลี้ยงนอกบ้านควรเลือกดูกรงที่สามารถกันแดดและกันฝนได้ ควรเป็นกรงที่มีขนาดใหญ่ไว้ให้กระต่ายได้มีพื้นที่ในการวิ่งเล่น ควรใช้หญ้าแห้งรองนอนให้กระต่าย

เชื่อว่าหลังจากที่ทุกคนได้ทำความรู้จักกับเจ้าฮอลแลนด์ลอปคงจะโดนน้องตกไปตามๆกันเลยใช่ไหมละคะ สำหรับใครที่กำลังตัดสินใจจะเลี้ยงเจ้ากระต่ายฮอลแลนด์ลอปอยู่ละก็ต้องมีการศึกษาข้อมูลและทำการบ้านเกี่ยวกับน้องเยอะๆน้า เพราะไม่เช่นนั้นแล้วอาจจะมีปัญหาอื่นๆตามมาได้ แต่ถ้าจะให้ดีเข้ามาอ่านที่Pet Please จะดีที่สุดค่า เพราะเราได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับน้องมาให้ไว้หมดแล้ว

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

AUTHOR: AEOHHH

2023, JAN 29

บทความอื่นๆ

ทำความรู้จัก ”ไก่ซิลกี้” เจ้าไก่ขนฟูสุดน่ารัก!
เลิฟเบิร์ด…นกที่ขึ้นชื่อว่าเป็น Little Parrot
ทำความรู้จัก “คาปิบารา” สัตว์ตัวใหญ่ยักษ์ที่กำลังเป็นไวรัลตอนนี้!
มาทำความรู้จักกับราชาแห่งนกฟินซ์ กับนกฟินซ์ 7 สีกัน!
ทำความรู้จักเอเลี่ยนสปีชีส์ สายพันธุ์สัตว์อันตรายจากต่างแดน
10 อันดับ สัตว์แปลกสุดหายากที่นึกว่าโปเกม่อน!