ตัวอะไรเอ่ย หน้าเหมือนหนูหูเหมือนกระต่าย แถมมีหางเหมือนกระรอก มันก็คือ เจ้าชินชิล่า นั่นเอง เจ้าตัวนี้เป็นหนึ่งในสัตว์แปลกน่าเลี้ยง และกำลังเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน ซึ่งหลายๆคนอาจจะเคยเห็นหน้าเห็นตากันมาบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่รู้จัก วันนี้เราก็เลยจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับเจ้าชินชิล่ากัน
บทความนี้ขอนำเสนอ
- ถิ่นกำเนิดของเจ้าชินชิล่า
- ชินชิล่ามี่กี่ประเภทหรือกี่สายพันธุ์กันนะ
- เจ้าชินชิล่ามีลักษณะหน้าตายังไงกันนะ
- ลักษณะนิสัยและพฤติกรรมของชินชิล่า
- เจ้าหนูตัวกลมเหมาะกับเจ้าของแบบไหน?
- อุปกรณ์ในการเลี้ยงชินชิล่า
- วิธีการเลี้ยงชินชิล่า
- โรคและความผิดปกติที่พบกับชินชิล่า
- คำถามที่พบบ่อย
ถิ่นกำเนิดของเจ้าชินชิล่า
ชินชิล่ามีถิ่นกำเนิดมาจากเทือกเขาแอนดีสทางตอนเหนือของประเทศชิลี และทางตอนใต้ของทวีปอเมริกา ชินชิล่าเป็นสัตว์ที่อยู่ในตระกูลสัตว์ฟันแทะเช่นเดียวกับ หนู และกระต่าย ที่สำคัญพวกมันเป็นสัตว์มีขนที่หนาและนุ่มมากจนได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ที่มีขนนุ่มที่สุดในโลก
ชินชิล่ามี่กี่ประเภทหรือกี่สายพันธุ์กันนะ
ชินชิล่ามีมีทั้งหมด2 ประเภทด้วยกัน คือแบบ Chinchilla lanigera และ Chinchilla brevicaudata แต่ปัจจุบัน Chinchilla brevicaudata ได้สูญพันธุ์ไปแล้วเหลือเพียงแค่ Chinchilla lanigera นั่นเอง
เจ้าชินชิล่ามีลักษณะหน้าตายังไงกันนะ
ลักษณะที่เป็นจุดเด่นของเจ้าชินชิล่าเลยก็คือพวกมันเป็นสัตว์ที่หน้าตาคล้ายหนู ตัวอ้วนกลมเหมือนกับกระต่ายและมีหางเหมือนกระรอก แต่มีขนที่หนาและนุ่มกว่าหลายเท่า ซึ่งขนหนาๆนุ่มๆของมันก็ทำหน้าที่เสมือนเสื้อกันหนาวที่คอยปกป้องอากาศที่หนาวเย็นนั่นเอง นอกจากนี้ชินชิล่ายังมีให้เลือกหลากหลายสีด้วยนะ แต่ราคาก็แรงขึ้นตามความหายากของสี อย่างสีที่พบเห็นได้บ่อยก็จะเป็น สีเทา สีพิ้งค์ไวท์ สีดำ สีเบจ และสีขาว เป็นต้นค่ะ
ลักษณะนิสัยและพฤติกรรมของชินชิล่า
ชินชิล่าถือเป็นหนึ่งในสัตว์ที่ขึ้นชื่อว่าเลี้ยงง่าย เชื่องและเป็นมิตรด้วยล่ะ แถมยังขี้อ้อนไม่แพ้สัตว์เลี้ยงชนิดอื่นๆเลยด้วย แต่โดยธรรมชาติแล้วชินชิล่าเป็นสัตว์ที่หากินตอนกลางคืน ชอบนอนในตอนกลางวันและมักจะคึกในตอนกลางคืน นิสัยส่วนใหญ่ก็จะคล้ายๆกับหนูเลยค่ะ ที่สำคัญชินชิล่าเป็นสัตว์ที่รักสะอาดมากแถมพวกมันยังไม่มีกลิ่นตัวด้วย นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ใครต่อใครต่างก็ชอบน้อง
เจ้าหนูตัวกลมเหมาะกับเจ้าของแบบไหน?
คนมีวินัย
ถึงแม่เจ้าชินชิลาจะขึ้นชื่อว่าเป็นสัตว์ที่เน้นกินแล้วก็นอนแต่พวกมันก็เป็นสัตว์ที่มีวินัยเอามากๆ โดยพวกมันต้องพักผ่อนและกินอาหารตรงเวลาในทุกๆวัน เนื่องจากชินชิลาเป็นสัตว์ที่มีระบบย่อยอาหารไม่แข็งแรงเหมือนกับสัตว์เลี้ยงทั่วไป ดังนั้นเจ้าของหรือคนเลี้ยงจึงต้องเลือกให้อาหารที่มีคุณภาพและต้องมีวินัยในระดับหนึ่งค่ะ
คนมีพื้นที่เยอะ
การเลี้ยงชินชิล่าควรเลี้ยงให้อยู่ในพื้นที่ที่อากาศสามารถถ่ายเทได้สะดวก เพราะอย่าลืมนะคะว่าน้องมีขนหนามาก จึงไม่ค่อยถูกกับอากาศร้อนๆหรืออากาศอบอ้าวสักเท่าไหร่ เพราะจะทำให้น้องเป็นเชื้อราและเกิดอาการขนร่วงได้
คนที่ไม่ค่อยมีเวลา
ชินชิล่าเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายและค่อนข้างเชื่อง นอกจากนั้นพวกมันยังเป็นสัตว์ที่รักความสะอาด ไม่ต้องอาบน้ำ ไม่ต้องตัดเล็บ และไม่ต้องตัดขน พวกมันมักจะทำความตัวเองอยู่เสมอ ที่สำคัญไม่มีกลิ่นตัว หมดปัญหาเรื่องสัตว์เลี้ยงส่งกลิ่นรบกวนไปได้เลย แต่เพียงแค่เน้นในเรื่องของการให้อาหารที่ดีและตรงต่อเวลาแค่นั้นก็เพียงพอแล้วค่ะ
อุปกรณ์ในการเลี้ยงชินชิล่า
กรง
จริงๆแล้วสามารถใช้กรงสำหรับกระต่ายหรือหนูแฮมสเตอร์ได้เลยค่ะ แต่ชินชิล่าเป็นสัตว์ที่ชอบกระโดดแถมยังกระโดดสูงมากด้วย ควรเลือกกรงที่มีพื้นที่เยอะๆเพื่อนให้น้องได้สามารถเล่นซุกซนได้ ที่สำคัญต้องเป็นกรงที่ทนต่อการกัดแทะได้ดี เพราะน้องเป็นสัตว์ตระกูลฟันแทะอาจมีนิสัยที่ชอบแทะนู้นแทะนี่ ดังนั้นกรงที่ดีต้องมีความแข็งแรงและทนทานค่ะ
ภาชนะใส่อาหาร
สำหรับภาชนะใส่อาหารก็สามารถใช้แบบกับแฮมสเตอร์ได้เช่นกันค่ะ โดยเลือกภาชนะที่แข็งแรงทนทานไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป และควรหลีกเลี่ยงภาชนะใส่อาหารที่เป็นพลาสติก เนื่องจากมีน้ำหนักเบา อาจทำให้ภาชนะพลิกคว่ำและโดนน้องกัดแทะได้นั่นเอง
ทรายอาบน้ำ
ทรายอาบน้ำเป็นสิ่งที่สำคัญมากค่ะ เพราะโดยปกติชินชิล่าจะไม่ชอบน้ำหรือความเปียกชื้นเพราะจะให้น้องเกิดเชื้อราได้ จึงต้องใช้วิธีการอาบน้ำด้วยทรายอาบน้ำ ที่สำคัญต้องเลือกซื้อให้เหมาะสมกับน้องนะคะไม่ควรใช้ทรายอาบน้ำแมวหรือกระต่ายแทน แนะนำว่าควรเลือกซื้อทรายสหรับน้องโดยเฉพาะหรือใช้เป็นผงขี้เถ้าหินภูเขาไฟได้ก็จะดีต่อน้องมากค่ะ
บ้าน
ชินชิล่าเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย เป็นมิตร แต่ในบางครั้งน้องเองก็เป็นสัตว์ที่รักสันโดษเหมือนกันนะ ถ้าหากสังเกตดีๆละก็ น้องจะชอบแอบหลบตามซอกมุมต่างๆเพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวนั่นเอง แนะนำให้หาบ้านหลังเล็กเพื่อให้น้องสามารถเข้าไปนนอนหรือหลบซ่อนได้ ที่สำคัญควรเลือกบ้านที่ทำจากวัสดุทนทาน ไม่ควรเลือกวัสดุที่ทำจากไม้หรือพลาสติก เพราะน้องเป็นสัตว์ฟันแทะ อาจจะเผลอกัดแทะเข้าไปได้
วิธีการเลี้ยงชินชิล่า
ความจริงแล้วชินชิล่าถือเป็นเป็นสัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงง่ายมาก ถึงจะไม่ต้องดูแลอะไรมากมายแต่ก็มีเรื่องที่ต้องห่วงอยู่บ้าง ซึ่งเรื่องที่ควรระวังเป็นพิเศษก็คือ เรื่องของการให้อาหารและเรื่องของอากาศนั่นเองค่ะ
อาหารและโภชนาการ
อาหารหลักของชินชิลาคือ หญ้าแห้งเป็นมื้อเช้าและมื้อเย็น โดยให้แค่มื้อละ 1 กำมือ และแมลงตัวเล็กเท่านั้น ในส่วนของอาหารเม็ด จะเป็นหญ้าในรูปแบบอัดเม็ดปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะต่อ 1 มื้อ และควรเตรียมน้ำดื่มใส่ขวดให้น้องสามารถดูดได้ 1 ขวดเล็ก ในบางวันควรให้เป็นอาหารหรือขนมกินเล่นสำหรับน้องอย่างเช่น ลูกเกดแห้ง หรือ เมล็ดอัลมอนต์ ที่ผลิตมาเพื่อชินชิลล่าโดยเฉพาะ แนะนำให้ทานเพียงวันละ 1 เม็ดเท่านั้นค่ะ
เรื่องอากาศ
นอกจากเรื่องอาหารเรื่องอากาศก็ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญมากสำหรับการเลี้ยงชินชิล่า คุณต้องแน่ใจว่าตำแหน่งที่วางกรงของน้องเป็นจุดที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ร้อนอบอ้าวหรืออับชื้นจนเกินไป ถ้าอยู่ในจุดที่มีอากาศเย็นได้ก็จะดีมาก เพราะน้องชอบค่ะ แต่ก็ไม่ควรเย็นจนเกินไปเพราะอาจทำให้น้องช็อคหรือป่วยได้
โรคและความผิดปกติที่พบกับชินชิล่า
ตาอักเสบติดเชื้อ (Eye infection)
โรคตาอักเสบติดเชื้อเป็นโรคที่เกิดจาการสาเหตุ และการได้รับอาหารที่ไม่เหมาะสม บวกกับความเครียด อากาศเย็นโและโรคปอดบวม ซึ่งจะมีอาการเปลือกตาบวม มีขี้ตาสีขาวรอบๆดวงตาและอาจมีน้ำตาไหลออกมาเป็นระยะๆค่ะ
องคชาติบวม
ความผิดปกติขององคชาติบวม เกิดจากเส้นขนที่จึงทำให้ลือดบริเวณองคชาติไหลเวียนได้ไม่ดี ทำให้เลือดคั่งด้านในจนเกิดการอักเสบ
การติดเชื้อรา
การติดเชื้อราเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยมากับเจ้าชินชิล่า เนื่องจากน้องมีขนที่หนาและแน่น ซึ่งมักพบในช่วงที่มีอากาศร้อนอบอ้าวหรืออับชื้น โดยสาเหตุเกิดจากเชื้อราชนิด Trichophyton spp. ซึ่งจะทำให้มีอาการคัน ขนหลุดร่วงเป็นหย่อมๆ และผิวหนังใต้ขนที่หลุดร่วงก็จะมีสีชมพูหรือสีแดง เนื่องจากเกิดการอักเสบ ส่งผลให้จนที่ขึ้นใหม่อ่อนแอ ร่วงและแตกหักง่ายค่ะ
ปัญหาเกี่ยวกับหู
สำหรับเจ้าชินชิล่าปัญหาเกี่ยวกับหูเป็นอาการที่พบได้ไม่บ่อยนัก ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากการได้รับอาหารที่ไม่เหมาะสมและมักมีการติดเชื้อราแทรกซ้อน โดยอาการป่วยที่พบได้คือ มีสิ่งคัดหลั่งไหลออกมาจากภายในหู ทำให้น้องต้องใช้เท้าเกาหูบ่อย หัวเอียงและเดินเป็นวงกลม ทางที่ดีควรพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อที่จะวินัจฉัยโรคได้อย่างแน่ชัดค่ะ
ท้องผูก
อาการท้องผูกเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับสัตว์เลี้ยงทั่วไปรวมไปถึงเจ้าชินชิล่าด้วยเช่นกัน ซึ่งสาเหตุมาจากกากใยต่ำ ได้รับหญ้าน้อย แก้ปัญหาได้ด้วยการให้ชินชิล่ากินน้ำและกินหญ้าแห้งมากขึ้นหรือให้กินลูกเกดวันละ1-2เม็ด จะช่วยให้ระบบขับถ่ายของน้องดีขึ้นได้ค่ะ
โรคลมแดด
โรคลมแดดเกิดจากอุณหภูมิภายในกรงที่สูงขึ้น ทำให้การระบายอากาศในกรงไม่เพียงพอ หรือการได้รับแสงโดยตรงเป็นเวลานานเกินไป การกินน้ำน้อย ก็มีส่วนที่ทำให้เป็นโรคลมแดด สามารถแก้โดยการนำชินชิล่าไปไว้ในห้องหรือที่ที่มีอากาศเย็น แล้วปล่อยไว้สักพักน้องจะมีอาการดีขึ้นค่ะ
โรคชัก
สำหรับโรคชักเป็นโรคที่มักพบได้ในชินชิล่าที่มีอายุน้อย ชินชิล่าที่ตั้งท้อง หรือชินชิล่าที่ขาดวิตามินบ้างชนิดได้แก่ เกลือแร่หรือแคลเซียม โดยจะมีอาการ สั่น โงนเงน เดินเอียง เดินเป็นวงกลม หากพบว่าน้องมีอาการเช่นนี้ แนะนำให้ผู้เลี้ยงพาน้องไปพบสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุดค่ะ เพราะน้องอาจจะช็อคและอันตรายถึงขั้นเสีย
คำถามที่พบบ่อย
Q: ชินชิล่าอยู่ในอากาศร้อนได้ไหม?
A: ถ้าหากเลี้ยงจริงๆให้น้องอยู่ในโซนที่ไม่ร้อน อากาศถ่ายเทสะดวก เพราะคนส่วนมากมักเข้าใจผิดว่าชินชิล่าอยู่ในอากาศร้อนไม่ได้ แต่จริงๆแล้วน้องแค่อยู่ในพื้นที่ที่อบอ้าวไม่ได้ ควรหาที่ที่อากาศโล่ง โปร่ง สบาย ถ้าหากเลี้ยงในกรงแนะนำซื้อกรงใหญ่ๆไปเลยค่ะ
Q: สามารถใช้อะไรรองกรงได้บ้าง แล้วเปลี่ยนบ่อยแค่ไหน?
A: ขึ้นอยู่กับรูปแบบของกรงค่ะ หากเป็นกรงที่มีลิ้นชัก ไม่จำเป็นต้องมีวัสดุรองกรงก็ได้แต่ถ้าเป็นกรงไม่มีลิ้นชัก แนะนำให้ใช้กระดาษรองซับค่ะ เพราะขี้เลื่อยหรือก้านปอจะมีความเสี่ยงกับชินชิล่า ในเรื่องของตา ระบบทางเดินหายใจ และการอุดตันของลำไส้ ส่วนทำความถี่ในการเปลี่ยนหรือทำความสะอาดกรงขึ้นอยู่กับความขยันของผู้เลี้ยงแต่ละคนเลยค่ะ ทางที่ดีแนะนำว่าควรทำความสะอาดอย่างน้อย อาทิตย์ละ 1ครั้งค่ะ น้องจะได้ไม่เครียดและมีสภาพแวดล้อมที่ดี
Q: ชินชิล่าต้องตัดขนไหม?
A: ขนของชินชิล่าไม่จำเป็นต้องทำอะไรมากเลยค่ะ ไม่จำเป็นต้องตัดขนด้วย นอกจากอาบน้ำด้วยทรายอาบน้ำ เพียงแค่นี้ขนของน้องก็สะอาดนุ่มฟูสวยแล้ว
Q: ชินชิล่าเพศเมียมีประจำเดือนไหม?
A: ชินชิล่าเพศเมียจะมีประจำเดือนค่ะ แต่ประจำเดือนของชินชิล่าจะมีลักษณะใสๆ เป็นสีขาวขุ่น อยู่ในปริมาณที่น้อยมาก หรือนานๆทีที่จะมีประจำเดือนแบบหยดเลือดออกมาค่ะ
Q: ชินชิล่าเป็นสัตว์ที่ตายง่ายจริงหรือเปล่า?
A: ไม่จริงเลยค่ะ สำหรับเจ้าชินชิล่าเค้าสามารถมีชีวิตอยู่ และผูกพันกับเราได้เป็นเวลานานมาก อายุเฉลี่ยของชินชิลล่าอยู่ที่ 10 ปีขึ้นไปค่ะ บางตัวอาจมีอายุถึง 20 ปีด้วยซ้ำ ซึ่งถือเป็นอายุขัยที่เยอะพอสมควรสำหรับเจ้าสัตว์เลี้ยงตัวเล็ก ขนปุยตัวนี้ แต่สาเหตุหลักๆที่หลายๆคนคิดว่าน้องตายง่าย อาจเป็นเพราะการเลี้ยงที่ไม่ถูกวิธี ไม่ได้ศึกษาเรื่องอากาศและอาหารให้รอบคอบก่อนเลี้ยงนั่นเองค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
- ชินชิล่า หนูน้อยจอมซน ทะเล้น น่ารัก
- ชินชิล่า สัตว์เลี้ยงขนนุ่มนิ่มที่สุดในโลก
- ประเภทของชินชิล่า
- ทำความรู้จัก “ชินชิล่า” สัตว์เลี้ยงขนนุ่ม ถ้ารู้จักแล้วจะรักจนถอนตัวไม่ขึ้น
- โรคและความผิดปกติที่พบกับชินชิล่า
- คำถามที่พบบ่อย
AUTHOR: AEOHHH
2023, FEB 14