วันนี้ PetPlease จะพาทุกคนมาทำความรู้จักเจ้าเป็ดคอลดั๊ก หรือ Call Duck เป็ดไซส์มินิที่ใครหลายคนเลี้ยงไว้เพื่อตกแต่งสวนให้มีความสวยงามมากขึ้น แต่เป็ดสายพันธุ์นี้ไม่ได้มีดีแค่ความสง่าสงามเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงนิสัยที่น่ารัก เข้ากับผู้คนได้ง่าย จึงเป็นที่นิยมสำหรับการเลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงคู่ใจเช่นเดียวกัน !
บทความวันนี้ขอนำเสนอ
- ความเป็นมาของเป็ด Call Duck
- ลักษณะของเป็ด Call Duck
- วิธีเลี้ยงเป็ด Call Duck
- อาหาร และโภชนาการของเป็ด Call Duck
- การเลือกซื้อเป็ด Call Duck
- โรคที่อาจพบในเป็ด Call Duck
- เรื่องที่ควรรู้สำหรับผู้ที่อย่างเลี้ยงเป็ด Call Duck
- คำถามที่พบบ่อย
ความเป็นมาของเป็ด Call Duck
เป็ดคอลดั๊ก หรือ Call Duck ที่ถิ่นกำเนิดจากประเทศเนเธอแลนด์ มีเสียงร้องที่ดัง และเป็นเอกลักษณ์ จึงเลี้ยงไว้เพื่อตัวล่อเป็ดป่า โดยเฉพาะตัวเมียที่มีเสียงก้องกังวาน ทำให้เป็นที่มีของชื่อ Call Duck นั่นเอง ซึ่งเป็นคอลดั๊กนั้นถูกนำเข้ามายังประเทศไทยในช่วงปี ค.ศ. 2014 ที่ผ่านมานี่เอง ด้วยนิสัยที่น่ารัก และความสง่างามของพวกเขา จึงทำให้กลายมาเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบัน
ลักษณะของเป็ด Call Duck
ลักษณะที่โดดเด่น และเป็นเอกลักษณ์ทำให้ผู้คนหลายคนต่างก็ตกหลุมรักเป็ด Call Duck ได้อย่างง่ายดาย เราสามารถแยกลักษณะได้ออกเป็นลักษณะทางกาย และลักษณะนิสัย ดังนี้
ลักษณะทางกายภาพของเป็ด Call Duck
เป็ด Call Duck จะมีขนาดของลำตัวที่เล็ก ไม่ใหญ่เท่าเป็ดสายพันธุ์อื่น ๆ ทั่วไป มีน้ำหนักโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 800 กรัมเท่านั้น โดยมีสีของขนที่หลากหลาย เช่น สีพีชอ่อน ๆ ดำ เทา ขาว และอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งสีที่เป็นนิยมเลี้ยงกันได้วงกว้าง ได้แก่ สีขาว และดำ ดวงตามีสีน้ำตาลเข้ม ตลอดไปจนดำสนิท หลาย ๆ คนอาจคุ้นหน้าคุ้นตาเจ้าเป็ด Call Duck ทั้ง ๆ ที่ยังไม่รู้จัก หรือศึกษาข้อมูลมาก่อนก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรนัก เพราะการ์ตูนหลาย ๆ เรื่องได้รับแรงบันดาลใจมาจากเป็ด Call Duck เหล่านี้ นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงรู้สึกคุ้นชินกับเจ้าเป็ดเหล่านี้เป็นอย่างดี
ลักษณะขนของเป็ด Call Duck
ปกติแล้วเราจะแบ่งลักษณะขนของเป็ด Call Duck ออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
- ขนยาว
สำหรับเป็ด Call Duck ที่มีลักษณะของขนที่ยาวนั้น เมื่อถึงวัยที่โตเต็มวัยจะทำให้ขนขึ้นเต็มไปหมดทั่วทั้งร่างกาย ทำให้ดูเหมือนอ้วนท้วนมากขึ้นกว่าเดิม หากเป็ดมีสุขภาพที่แข็งแรงไม่มากพอ อาจส่งผลให้เกิดอาการขนร่วง หรือขนแตกได้ง่าย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และอาหารที่เต็มไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการนั่นเอง โดยเป็ด Call Duck แรกเกิดจะมีขนที่ไม่สม่ำเสมอรวมถึงการดูแลรักษาที่ยาก เนื่องจากต้องอาศัยน้ำมันในการดูแลค่อนข้างเยอะ แต่เราก็สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการเลือกอาหารที่เหมาะสมกับสภาพขนของน้องเป็ดนั่นเองครับ
- ขนกลาง
สำหรับเป็ด Call Duck ที่มีขนขนาดกลาง ๆ ไม่สั้น หรือยาวไปนั้นจะมีขนที่ค่อนข้างสม่ำเสมอกันตั้งแต่แรกเกิด ความพองฟูของขนนั้นมีความพอดี ไม่แน่นไป หรือน้อยจนทำให้ดูเหมือนป่วย ดูแลง่ายกว่าขนยาว เพราะมีน้ำมันเคลือบอย่างทั่วถึง ไม่ต้องการดูแลอะไรมากมาย เพียงแค่นำไปอาบน้ำเป็นประจำก็เพียงพอแล้วครับ
- ขนสั้น
เรามาต่อกันที่เป็ด Call Duck ขนสั้นกันบ้างดีกว่า สำหรับเป็ดที่มีขนสั้นนั้นจะแทบไม่ต่างอะไรกับเป็ดขนกลางเลย ต่างก็เพียงแต่ขนของเป็ดนั้นจะมีความแห้งได้ง่ายกว่าเพราะมีความสั้นที่มากกว่า วิธีการแก้ปัญหาโดยเบื้องต้นที่สามารถทำได้นั้นก็คือ การดูแลเรื่องคุณค่าทางโภชนาการให้ครบครัน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของเป็ด Call Duck ขนสั้นให้มากที่สุดครับ
ลักษณะนิสัยของเป็ด Call Duck
เป็น Call Duck เป็นเป็ดที่มีความเป็นมิตร โดยธรรมชาติแล้วพวกเขาเป็นเป็ดที่มีความเชื่อง ฟังคำสั่งของมนุษย์เป็นอย่างดี มีความอ่อนโยน ทำให้เข้ากับเด็ก และสัตว์ชนิดได้ง่ายดาย สามารถเป็นเพื่อนเล่นสนุกกับคุณได้ตลอดทั้งวัน เพราะพลังงานที่สวนทางกับขนาดตัวนั้นไม่เคยปฎิเสธความเหนื่อยล้าแม้แต่นิดเดียว อย่างไรก็ตามพวกเขาก็มีเสียงที่ค่อนข้างดัง และเป็นเอกลักษณ์เป็นอย่างมาก และอาจจะยากในการควบคุมไม่ให้ใช้เสียง ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันความรำคาญใจของเพื่อนบ้านนั้น เราควรเลี้ยงเขาไว้ให้อยู่เป็นที่เป็นทาง
วิธีเลี้ยงเป็ด Call Duck
การเลี้ยงเป็ด Call Duck เราจำเป็นต้องดูแลพวกเขาให้พวกเขามีสุขภาพกาย และจิตใจที่เข้มแข็งที่สุด ซึ่งการมีสุขภาพกาย และจิตที่แข็งแรงก็มาจากหลากหลายปัจจัย เช่น สถานที่เลี้ยง การเอาใจใส่ และความสะอาดของเป็ดเป็นต้น โดยเราสามารถทำตามได้ ดังนี้
สถานที่เลี้ยงเป็ด Call Duck
สำหรับการจัดเตรียมสถานที่เลี้ยงเป็ด Call Duck นั้นดูเหมือนจะยุ่งยาก เพราะความต้องการที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง แต่จริง ๆ แล้วไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด เพียงแต่ต้องตอบโจทย์ความต้องการของพวกเขาได้อย่างครบครันเท่านั้นเอง โดยขนาดของคอก หรือกรงเป็ดนั้นจะต้องมีความกว้าง ให้เป็ดได้มีพื้นที่ใช้ซอยได้อย่างสะดวก ไม่อึดอัด สำหรับประตูของคอกจะต้องมีความกว้าง และไม่มีรูรั่วใด ๆ และจำเป็นต้องมีทางลาด ไม่ให้ระดับเสมอกับพื้นจนเกินไป
การดูแล และการเอาใจใส่สำหรับเป็ด Call Duck
การดูแล และการเอาใจใส่เป็ด Call Duck จะไม่ใช่เรื่องยาก หรือซับซ้อนอะไร หากเรามีความรักที่ต้องการจะดูแลเขาให้ดีที่สุด หากเรามีความรักมากพอก็จะสามารถจัดสรรเวลา เพื่อดูแลพวกเขาอย่างใกล้ชิด ช่วงเวลา 1 – 2 เดือนแรกเป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างเป็ด Call Duck กับเจ้าของ การได้ใช้เวลาช่วงแรกกับเป็ดคอลดั๊กเป็นช่วงที่พวกเขาสามารถจดจำเราได้มากที่สุด รวมไปถึงการเชื่อฟังคำสั่งประหนึ่งว่าเป็นผู้ปกครองเลยทีเดียว
วิธีการอาบน้ำให้กับเป็ด Call Duck
หลายคนอาจสงสัยว่าเราจำเป็นต้องอาบน้ำให้กับเป็ดคอลดั๊กหรือไม่ ความเป็นจริงแล้วเราจำเป็นต้องอาบน้ำให้กับพวกเขานะครับ ถึงแม้ว่าพวกเขาจะชื่นชอบการเล่นน้ำก็ตาม แต่นั่นก็ไม่เพียงพอต่อความสะอาดที่พวกเขาต้องการ โดยเราสามารถทำความสะอาดร่างกายของพวกเขาได้ง่าย ๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้นเอง
ขั้นตอนการเตรียมอุปกรณ์อาบน้ำให้กับเป็ด Call Duck
อันดับแรกเราจำเป็นต้องเตรียมอ่างสำหรับอาบน้ำไว้ 3 ใบ โดยแบ่งน้ำสะอาดอุณหภูมิประมาณ 35 องศาเซลเซียสบรรจุลงในอ่าง 2 ใบแรก ส่วนใบที่สามให้บรรจุน้ำสะอาดอุณหภูมิห้องไว้ และสิ่งที่ต้องคำนึงมากที่สุด คือ ขนาดของอ่างแต่ละใบมีความพอดีกับขนาดตัวของเป็ด เพื่อที่จะได้ทำความสะอาดอย่างหมดจดที่สุด
หลังจากเตรียมน้ำสะอาดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้สบู่เหลวสำหรับทำความสะอาดสัตว์เลี้ยงผสมกับน้ำในอ่างแรก และผสมน้ำส้มสาบชูประมาณ ¼ ของถ้วย ลงไปในอ่างที่ 2 ส่วนน้ำในอ่างสุดท้ายนั้นจะต้องไม่ผสมอะไรเลย เพื่อที่จะชำระล้างฟองสบู่ให้หมดเกลี้ยง
ขั้นตอนการทำความสะอาดร่างกายของเป็ด Call Duck
เรามาถึงขั้นตอนสำคัญกันแล้วกับการทำความสะอาดร่างกายของเป็ด Call Duck สำหรับ ขั้นตอนนี้ก็ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่เราคิดไว้ เพียงแค่เราอุ้มเป็ด Call Duck ลงมายังอ่างที่ 1 พยายามไม่ให้หัวของเขาโดนน้ำ เพราะอาจทำให้สบู่เหลวไหลเข้าตาได้ หลังจากนั้นใช้มือข้างนึงของเราจับตัวของเป็ด Call Duck ให้แน่น และนำมืออีกข้างถูรอบ ๆ ร่างกายของเขาจนกว่าจะสะอาด โดยจำเป็นต้องเน้นในช่วงปีก เพราะถือว่าเป็นจุดที่ทำความสะอาดได้ยาก เราสามารถใช้แปรงสีฟันซี่เล็กในการทำความสะอาดบริเวณปีกได้ เพื่อการทำความสะอาดอย่างทั่วถึง
จากนั้นให้เราย้ายเป็ดมายังอ่างที่ 2 เพื่อชำระฟองสบู่ให้เกลี้ยง ก่อนที่จะนำมายังอ่างที่ 3 เพื่อทำความสะอาดคราบที่ถูกขจัดจากการทำความสะอาดโดยน้ำส้มสายชูนั่นเอง เมื่อชำระด้วยน้ำเปล่าจนสะอาดแล้วให้ใช้ผ้าขนหนู เพื่อเช็ดตัวของเป็ด Call Duck ให้แห้ง ก่อนจะย้ายไปยังกรงที่อบอุ่นนั่นเอง
เราจะเห็นได้ว่าการทำความสะอาดเป็ด Call Duck ไม่ได้ยากอย่างที่คิดใช่ไหมล่ะครับ เพื่อที่จะป้องกันอันตรายจากสารเคมีต่าง ๆ ทาง PetPlease ขอแนะนำให้ใช้วัสดุอุปกรณ์ และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปลอดภัยต่อสัตว์เลี้ยง หรือผลิตมาสำหรับสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะจะดีกว่านะครับ ซึ่งทางเว็บไซต์ของเราก็มีการจัดจำหน่ายสินค้าที่ทั้งมีคุณภาพ และปลอดภัยต่อสัตว์เลี้ยงของท่านอยู่ หากสนใจก็สามารถคลิ๊กเข้าไปดูได้นะครับ รับรองว่าทั้งสะดวก และรวดเร็วอย่างแน่นอนครับ
การผสมพันธุ์ของเป็ด Call Duck
เป็ด Call Duck สามารถมีการผสมพันธุ์ได้ถึง 3 – 4 ครั้งต่อปี เพศเมียจะสามารถออกลูกได้ถึง 3 – 4 คอกเช่นเดียวกัน ซึ่งในแต่ละครั้งนั้นก็มีการออกไข่ตกเฉลี่ยอยู่ที่ครั้งละ 8 – 15 ฟองเลยทีเดียว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะออกไข่ได้ตลอดทุกช่วงเวลา เพราะเป็ด Call Duck เพศเมียจะไม่ออกไข่ในช่วงผลัดขน
ระยะการฟักไข่เป็ด Call Duck
สำหรับการฟักไข่ของเป็ด Call Duck จะอยู่ในช่วง 28 วันก่อนจะออกมาเป็นตัว ในระหว่างนั้นเราจำเป็นต้องดูแลความสะอาดให้เป็นอย่างดี เพราะอาจทำให้เป็ด Call Duck ป่วยได้ ซึ่งเราสามารถทำความสะอาดได้เป็นประจำทุกวัน
อาหาร และโภชนาการของเป็ด Call Duck
สำหรับการให้อาหารเป็ด Call Duck นั้นจะเน้นไปที่โปรตีนที่เพียงพอต่อร่างกายเป็นหลัก โดยเราสามารถให้เป็นแมลงได้ เนื่องจากอุดมไปด้วยโปรตีนที่สำคัญต่อร่างกายเป็ดคอลดั๊ก รวมถึงเราสามารถให้ผักได้เช่นเดียวกัน ซึ่งจะต้องเป็นสารที่ปลอดสารพิษ จึงจะให้เป็นอาหารกับเป็ดได้ ซึ่งปริมาณอาหารในแต่ละครั้งนั้นไม่จำเป็นต้องให้เยอะ คำนวณให้พอดีกับขนาดตัวเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว โดยเป็ด Call Duck 1 ตัวต้องการอาหารเพียง 1 กิโลกรัมต่อ 1 สัปดาห์เลยทีเดียว
การเลือกซื้อเป็ด Call Duck
โดยปกติแล้วเราจะสามารถเลือกซื้อเป็ด Call Duck ได้ตามเกรดที่ถูกจำแนกจากกลไกของท้องตลาด ซึ่งจะมีความแตกต่างทางกายภาพ โดยเราสามารถจำแนกออกมาได้ ดังนี้
การแบ่งเกรดตามลักษณะทางกายภาพของเป็ด Call Duck
- เป็ด Call Duck เกรด A
สำหรับเป็ด Call Duck เกรด A นั้นจะมีลักษณะสรีระของร่างกายที่เล็กกว่าเกรดอื่น ๆ รวมถึงหัวของเป็ดเกรด A นั้นจะมีความกลมมน อีกทั้งปากที่สั้น เรียกว่ามีขนาดเล็กจิ๋วไปทุกสัดส่วนได้เลย
- เป็ด Call Duck เกรด B
เรามาต่อกันที่เป็ด Call Duck เกรด B สำหรับขนาดตัวของเป็ดคอลดั๊กเกรดบีนั้นจะมีขนาดกลาง ไม่เล็กเกิน และไม่ใหญ่จนเกินไป และหัวของเป็ดเกรดนี้นั้นจะมีความกลมไม่เท่าเป็ดคอลดั๊กเกรด A
- เป็ด Call Duck เกรด C
สุดท้ายกับเป็ด Call Duck เกรด C สำหรับความแตกต่างของเป็ดคอลดั๊กเกรด C นั้นจะมีขนาดของลำตัวที่ใหญ่กว่าเป็ดคอลดั๊กเกรดอื่น ๆ รวมถึงปากที่ยาวกว่า และรูปทรงของหัวที่แหลม ไม่กลมเหมือนเกรดอื่น ๆ ที่ผ่านมา
ถึงแม้ลักษณะที่แตกต่างเรานี้จะแปรผันไปตามราคาของท้องตลาด แต่หากเรามีความสนใจ และคิดว่ามีความต้องการที่จะเลี้ยงดูเป็ด Call Duck จริง ๆ เรื่องเกรด และราคาจะไม่ใช่เรื่องใหญ่แม้แต่น้อย เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ความรับผิดชอบในการเลี้ยงดูพวกเขาอย่างใจจริงนั่นเอง
โรคที่อาจพบในเป็ด Call Duck
แทบจะปฎิเสธไม่ได้เลยว่าโรคภัยไข้เจ็บนั้นเป็นสิ่งที่สัตว์ทุกชนิดบนโลกจะต้องเผชิญเจอ และเป็ด Call Duck เองก็เช่นกัน แต่หากเราศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดก็จะสามารถป้องกันความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคอันตรายได้
โรคตับอักเสบติดต่อของลูกเป็ด (Duck Virus Hepatitis)
- สาเหตุ
สาเหตุของโรคตับอักเสบติดต่อนั้นเกิดมาจากเชื้อไวรัส โดยส่วนใหญ่สามารถพบได้ในลูกเป็ดที่มีอายุ 1 วันเป็นต้นไป เนื่องจากยังไม่มีภูมิคุ้มกันที่จะสามารถต้านทานเชื้อไวรัสได้ จึงสามารถพบได้แค่ลูกเป็ดที่มีอายุต่ำกว่า 1 เดือน
- อาการ
สำหรับลูกเป็ดที่เป็นโรคตับอักเสเบติดต่อจะแสดงอาการอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะไม่สามารถเคลื่อนไหวตัวได้ชั่วคราว หลังจากนั้นจะเกิดอาการชักจนน้ำลายฟูมปาก และจะเสียชีวิตลงในที่สุด
- การป้องกัน
เพื่อป้องกันการติดเชื้อจนทำให้เกิดโรคตับอักเสบติดต่อ เราควรทำการฉีดวัคซีนให้กับลูกเป็ดในการสร้างภูมิคุ้มกัน ในกรณีที่ติดโรคอักเสบมากแล้ว ให้นำไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการฉีดซีรัมในการรักษาให้ทันเวลาครับ
โรคเพล็ก (Duck Plague)
- สาเหตุ
สาเหตุของโรคเพล็กนั้นเกิดมาจากเชื้อไวรัสเช่นเดียวกัน โดยระบาดในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2519
- อาการ
เป็ดที่เป็นโรคเพล็กจะมีอาการร่างกายอ่อนปวกเปียก ตัวสั่น และเป็นอัมพาตในที่สุด โดยจะสังเกตได้ว่ามีน้ำลายเหนียว ๆ ไหลออกจากปากอย่างช้า ๆ เสียงหายใจดังกว่าปกติ สีของอุจจาระเป็นสีขาว และอาจทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ในเวลาต่อมา
- การป้องกัน
ทางออกที่ดีที่สุดนั่นก็คือการฉียดวัคซีนป้องกันให้เรียบร้อยก่อนจะนำมาเลี้ยงที่บ้าน รวมถึงการดูแลความสะอาดให้เป็นอย่างดี เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของเป็ด Call Duck
โรคอหิวาห์เป็ด (Duck Cholera)
- สาเหตุ
หนึ่งในโรคระบาดที่อันตรายของเป็ด โรคอหิวาห์เป็ด ซึ่งมีสาเหตุจากการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย
- อาการ
สำหรับอาการของโรคอหิวาห์เป็ดนั้นจะมีความเบื่ออาหาร ไข้สูงจัด รวมไปถึงการมีน้ำมูก ผิวคล้ำลง ซึ่งความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตนั้นสูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว โดยเราสามารถพบได้ในเป็ดที่มีอายุ 4 สัปดาห์เป็นต้นไป
- การป้องกัน
การป้องกันขั้นพื้นฐาน คือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาห์โดยสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อม และอาหารการกินอย่างเคร่งครัด มิเช่นนั้นอาจทำให้เกิดการติดเชื้อมาได้
โรคบิด (Coccidiosis)
- สาเหตุ
โรคบิดเป็นโรคที่อันตรายไม่แพ้โรคอื่น ๆ โดยมีสาเหตุจากเชื้อโปรโตซัว ซึ่งเกิดได้จากความชื้นของถิ่นที่อยู่
- อาการ
เป็ดที่เป็นโรคบิดจะมีอาการท้องร่วง ส่งผลให้เกิดอุจจาระเป็นเลือด เพราะลำไส้ที่อักเสบนั่นเอง
- การป้องกัน
สำหรับการป้องกันนั้นก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไร เพียงแค่เราดูแลเรื่องความสะอาดของถิ่นที่อยู่อย่างเคร่งครัด รวมไปป้องกันไม่ให้เกิดความชื้นภายในที่อยู่อาศัยของเป็ด และไม่ให้เป็ดที่มีอายุต่างกันมาอยู่รวมกันภายในคอกเดียว เพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันโรคบิดในเป็ดได้แล้ว
เรื่องที่ควรรู้สำหรับผู้ที่อย่างเลี้ยงเป็ด Call Duck
การจัดเตรียมสถานที่
เรามาเริ่มกันที่การจัดเตรียมสถานที่กันดีกว่าครับ เบื้องต้นทุกคนอาจทำความเข้าใจขนาด และความกว้างของกรง หรือโรงเรือนกันไปแล้ว แต่สิ่งทีสำคัญไม่แพ้กัน คือ การแบ่งพื้นที่ให้เป็นสัดส่วน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งเราสามารถแบ่งได้ง่าย ๆ ดังนี้ 50 % ของบริเวณภายในกรง หรือโรงเรือนนั้นจะต้องเป็นพื้นที่สำหรับพักผ่อน และการกินอาหาร ต่อมา 30 % เป็นพื้นที่ของการกินน้ำ และการเล่นน้ำ เพื่อให้เป็ดมีความผ่อนคลาย และร่างกายมีน้ำอย่างเพียงพอ สุดท้าย 20 % ให้เป็นพื้นที่ของการไข่ ในกรณีที่เลี้ยงเป็ดไว้สำหรับเพาะพันธุ์ต้องบอกเลยนะครับว่าได้ประสิทธิภาพสูงสุดอย่างแน่นอน
การเตรียมแหล่งน้ำ
แหล่งน้ำเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับสิ่งมีชิวิตบนโลก เราจัดเตรียมแหล่งน้ำให้กับเจ้าเป็ด Call Duck ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะ พวกเขาจะออกกำลังกายโดยการว่ายน้ำ รวมไปถึงการขับถ่าย หากเราเตรียมแอ่งน้ำ หรือพื้นที่เล็ก ๆ ไว้ให้พวกเขาก็จะทำให้เราสามารถเก็บกวาดได้ง่าย ซึ่งทำให้สุขภาพของเป็ด Call Duck แข็งแรงมากยิ่งขึ้นด้วยครับ
อัตราค่ารักษาพยาบาลโดยประมาณ เมื่อป่วย
สำหรับค่ารักษาพยาบาลนั้นต้องบอกว่าเริ่มต้นไม่แพงเท่าไหร่นัก เพียงแค่ 350 บาทเท่านั้น แต่จะถูกกว่า หรือแพงกว่านี้ก็ขึ้นอยู่กับโรคที่เป็น รวมถึงสถานที่รักษาพยาบาลที่อยู่ใกล้บ้านของเรา หากไม่อยากเสียค่าใช้จ่ายจิปาถะในส่วนของค่ารักษาพยาบาลนี้ เราจำเป็นต้องป้องกันโดยการดูแลความสะอาดของโรงเรือน หรือกรงของเป็ดอย่างเป็นประจำ เพื่อป้องกันการติดเชื้อของเชื้อไวรัส และแบคทีเรียที่อาจสะสมภายในโรงเรือน หรือกรงครับ
ลักษณะและไลฟ์สไตล์ของเจ้าของที่เหมาะสม
- เหมาะกับเจ้าของที่ทนต่อเสียงรบกวนได้
โดยธรรมชาติของเจ้าเป็ด Call Duck นี่เป็นเป็ดที่ชอบร้องเสียงดังอย่างที่เราทราบกันเบื้องต้นแล้วว่าพวกเขาถูกใช้เพื่อเป็นเป็ดล่อก็เพราะเสียงที่ดังนี่แหละ ดังนั้นหากเจ้าของมีไลฟ์สไตล์ที่ชอบความเงียบสงบจะไม่เหมาะเท่าไหร่นะครับ แต่ถ้าใครคิดว่าเสียงร้องที่ดังนี้ก็คือธรรมชาติ และสีสันของชีวิตก็สามารถเข้ากับเจ้าเป็ด Call Duck ได้เป็นอย่างดีเลยล่ะครับ
จบไปแล้วนะครับกับสิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับเป็ด Call Duck หวังว่าทุกคนจะตกหลุมรัก และรู้จักกับเป็ดสายพันธุ์นี้มากยิ่งขึ้น เชื่อว่าหากเราตกหลุมรักเป็ด Call Duck แล้วนั้น พวกเขาก็พร้อมจะเป็นทั้งสัตว์เลี้ยง และเพื่อนที่ดีของทุกคนอย่างแน่นอนครับ!
คำถามที่พบบ่อย
Q: ราคาเป็ด Call Duck อยู่ที่เท่าไหร่ ?
A: มีตั้งแต่หลักพัน จนถึงหลักหมื่นบาท โดยจะแบ่งตามเกรด เกรด A จะแพงสุด ลูกเป็ด ราคาเริ่มต้นในตลาด จะอยู่ประมาณ ตัวล่ะ 2,500 บาท ถ้าเป็นเป็ดพ่อแม่พันธุ์ ขายกัน คู่หนึ่ง อยู่ราวๆ 8,000 – 20,000 บาท
Q: อายุขัยของเป็ด Call Duck โดยเฉลี่ยอยู่ที่กี่ปี ?
A: สำหรับอายุขัยของเป็ดสายพันธุ์นี้นั้นจะอยู่ที่ 7-10 ปี โดยประมาณ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- ประวัติ เป็ดคอลดั้ก call duck ทำความรู้จักก่อนเลี้ยง
- Call Duck Breed (Everything you Need to Know)
- เป็ดคอลดั้ก
- Adult Call Ducks: Purely Poultry
- ฟาร์มเพาะพันธุ์เป็ดคอลดั๊ก สัตว์เลี้ยงตัวเล็ก สุดน่ารัก ส่งออกต่างประเทศ รายได้ 3 หมื่นต่อเดือน – เทคโนโลยีชาวบ้าน
- How to Wash a Duck | Pets on Mom.com
- โรคเป็ด : เป็ด การเลี้ยงเป็ด
- How Long Do Ducks Live? A Quick Guide to Duck Lifespans | ODH
AUTHOR: Arthurchiii
2023, FEB 26